การพัฒนาเว็บไซต์ส่งเสริมการรับรู้สารสนเทศในรายวิชากิจกรรมพลศึกษา The Website Development for Improving Information Perception of Physical Education Activity Courses

Main Article Content

พศกร ไชยสุข

Abstract

บทคัดย่อ


          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ส่งเสริมการรับรู้สารสนเทศในรายวิชากิจกรรมพลศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มี 3 ระยะหลักคือระยะแรกศึกษาความต้องการข้อมูลและข้อมูลพื้นฐาน การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างใช้ในการรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนร่วมในหลักสูตรวิชากิจกรรมพลศึกษา จำนวน 25 คน ซึ่งรวมถึงคณะกรรมการศูนย์พัฒนาและบริการรายวิชากิจกรรมพลศึกษา อาจารย์ผู้สอนและและนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชากิจกรรมพลศึกษาในภาคปลาย ปีการศึกษา 2560  ระยะที่ 2 ออกแบบและประเมินคุณภาพของเว็บไซด์ส่งเสริมการรับรู้สารสนเทศในรายวิชากิจกรรมพลศึกษา โดยตรวจสอบค่าความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิผลและความพึงพอใจต่อทีมีต่อเว็บไซต์โดยใช้แบบสอบถามกับประชากรซึ่งเป็นคณะกรรมการฯ และอาจารย์ผู้สอนรายวิชากิจกรรมพลศึกษา จำนวน 69 คน และกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชากิจกรรมพลศึกษาในภาคปลาย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 705 คน สถิติที่ใช้ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ความถูกต้องของเนื้อหาของเว็บไซต์มีดัชนีความสอดคล้อง = 0.98 และการตรวจสอบคุณภาพของเว็บไซต์มีดัชนีความสอดคล้อง = 0.96 2) ผลการประเมินประสิทธิผลของเว็บไซต์ในการปรับปรุงการรับรู้ข้อมูลหลักสูตรกิจกรรมพลศึกษา ของประชากรและกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับมาก (μ = 4.13, σ = 0.47), ( = 3.92, S.D. = 0.53) ตามลำดับ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของเว็บไซต์โดยรวม 6 ประเด็นอยู่ในระดับมาก (μ = 4.11, σ = 0.53), ( = 3.90, S.D. = 0.60) ตามลำดับ ผลกระทบจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลของหลักสูตรกิจกรรมพลศึกษาในการศึกษานี้สามารถเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการรวบรวมข้อมูลและผู้ให้บริการข้อมูลในหลักสูตรกิจกรรมพลศึกษา ได้อย่างเหมาะสม


คำสำคัญ : การพัฒนาเว็บไซต์, การรับรู้สารสนเทศ, รายวิชากิจกรรมพลศึกษา


Abstract   


          The purpose of this research and development was to develop a website for improving information perception of Physical Education Activity (PEA) Courses of Department of Physical Education, Faculty of Education, Kasetsart University. There were 3 main phases: The first phase was to study the needs of information and baseline data. The semi-structured interviews were used to collect the data from 25 people who were involved in PEA Courses including the administrators of the Development and Services of Physical Education Activity Course Center, instructors and students who enrolled PEA Courses on the second semester 2017.  The second phase were to design and evaluate the website for improving information perception of PEA Courses. The content validity was established by 5 experts. The third phase were to evaluate for the effectiveness and satisfaction of the website by using the questionnaires. A total population of 69 who were the PEA Courses’ administrators and instructors and total sample of 705 students who enrolled PEA Courses on the second semester 2017. The collected data were analyzed by using percentage, means and standard deviation.


The results of the research found that 1) the validity of the website’s contents had index of consistency = 0.98 and the quality inspection of the website had index of consistency = 0.96. 2) The evaluation of the effectiveness of the website for improving information perception of PEA Courses of the population and sample were at high level (μ = 4.13, σ = 0.47), ( = 3.92, S.D. = 0.53), respectively. 3) the overall of website satisfaction evaluation on 6 issues was at the high level (μ = 4.11, σ = 0.53), ( = 3.90, S.D. = 0.60), respectively.  Implications drawn from this study show that the website development for promoting information perception of PEA Courses in this study can be the resources for data collection and information Service Providers on the PEA Courses appropriately.


Keywords: The Website Development, Information Perception , Physical Education Activity Courses

Article Details

Section
Research Articles