การฝึกย่างเท้าบนยางรถยนต์ที่มีต่อความแข็งแรงของขาและความคล่องแคล่วว่องไว ของกีฬามวย The Training Footwork on Car Tire for Leg Strength and Agility of Boxing Sport

Main Article Content

อทิติ วลัญช์เพียร

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความแข็งแรงของขา และความคล่องแคล่วว่องไว จากการฝึกย่างเท้าบนยางรถยนต์ที่มีขนาดต่างกันระหว่างยางรถยนต์ กับยางรถสิบล้อ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง เป็นอาสาสมัคร เพศชาย อายุ 20-25 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ร่างกายแข็งแรง และไม่ได้เป็นนักกีฬาประเภทใด จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่มละ 20 คน โดยทำการแบ่งออกเป็น 1)กลุ่มฝึกย่างเท้าบนยางรถยนต์ 2)กลุ่มฝึกย่างเท้าบนยางรถสิบล้อ 3) กลุ่มควบคุม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 5 วัน ทำการทดสอบหาความแข็งแรงของขาและความคล่องแคล่วว่องไวก่อนและหลังการฝึก นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานภายในกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึกและหลังการฝึก ด้วย สถิติ Paired Sample t-test และทำการเปรียบเทียบข้อมูลทางสถิติระหว่างกลุ่มทั้ง 3 กลุ่ม ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA)  กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานภายในกลุ่มที่ 1 (ยางรถยนต์) มีค่าความแข็งแรงของขาก่อนและหลังการฝึก เพิ่มขึ้นจาก 2.22±0.33 เป็น 2.36±0.29 ค่าความคล่องแคล่วว่องไว เพิ่มขึ้นจาก 28.90±2.43 เป็น 34.00±1.89 โดยพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ .05 กลุ่มที่ 2 (ยางรถสิบล้อ) พบว่าค่าความแข็งแรงของขาก่อนและหลังการฝึกเพิ่มขึ้นจาก 2.42±0.16 เป็น 2.54±0.16 ค่าความคล่องแคล่วว่องไว เพิ่มขึ้นจาก 28.50±1.96 เป็น 34.25±3.04 โดยพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติที่ .05 กลุ่มที่ 3 (ควบคุม) มีค่าความแข็งแรงขอขาก่อนการฝึกเท่ากับ 1.82±0.21 หลังการฝึกเท่ากับ 1.80±0.21 และค่าความคล่องแคล่วว่องไวก่อนการฝึกเท่ากับ 27.50±1.76 และหลังการฝึก 27.05±1.82 ไม่พบความแตกต่างทางสถิติภายในกลุ่มควบคุม เมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ทำการฝึกย่างเท้าบนยางรถสิบล้อมีค่าความแข็งแรงของขามากที่สุด รองลงมาคือกลุ่มยางรถยนต์ และกลุ่มควบคุมตามลำดับ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าความคล่องแคล่วว่องไว ระหว่างกลุ่มที่ฝึกบนยางรถยนต์กับรถสิบล้อ ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่กลุ่มที่ฝึกบนยางรถยนต์และรถสิบล้อ แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย พบว่าการฝึกย่างเท้าบนยางรถยนต์ที่มีขนาดต่างกัน สามารถเพิ่มความแข็งแร ของขาและความคล่องแคล่วว่องไวในกลุ่มตัวอย่างได้ 


คำสำคัญ :  การย่างเท้า ความแข็งแรงของขา ความคล่องแคล่วว่องไว


Abstract   


             The purpose of this research is to study leg strength. And agility from the practice of footwork on the tires of different sizes between the car tires. With ten wheel tire truck. Group sample is a male volunteer, aged 20-25 years old without any underlying disease Strong body and is not an athlete of any type, the number of 60 people is divided into 3 groups of 20 people by dividing into 1) Experimental group to footwork on a car tire 2) Experimental group to footwork on ten-wheel tires 3) The control group. Two experimental groups performed 5 days training-week for 8 weeks. The data were analyzed and compared the difference of mean and standard deviation within the experimental group. Before and after training with Paired Sample t-test, statistical data was compared between the 3 experimental groups with one-way ANOVA analysis.


            The results showed that mean and standard deviation within Group 1 (cartires) had an increase in leg strength before and after training from 2.22 ± 0.33 to 2.36 ± 0.29. At 2.43 to 34.00 ± 1.89, a statistically significant increase was found at .05 group 2 (ten-wheel tires), found that the leg strength before and after training increased from 2.42 ± 0.16 to 2.54 ± 0.16 The agility was increased from 28.50 ± 1.96 to 34.25 ± 3.04 with a statistically significant increase at .05 in group 3 (control). The strength of the leg before training was 1.82 ± 0.21 after. Training was 1.80 ± 0.21 and agility was 27.50 ± 1.76 and after training 27.05 ± 1.82. No statistical difference was found within the control group. When comparing between groups it was found that the sample group practicing on ten-wheel tires had the highest leg strength. Followed by a group of car tires. And control group respectively There were statistically significant differences at the .05 level and agility values. Between groups practicing on a car tire and a ten-wheel tires not statistically different. But the group that practiced on car tire and a ten-wheel tires this was significantly different from the control group at the .05 level. Research findings Found that training footwork ontires of different sizes. It was able to increase leg strength and agility in the sample group.


Keywords:   Footwork, Leg Strength, Agility

Article Details

Section
Research Articles