ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ กรณีศึกษาโรงแรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ A case study of hotels in Maung District, Chaingmai
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรมและที่พักของผู้มาใช้บริการที่เป็นผู้สูงอายุ 2) เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรม และที่พักสำหรับผู้มาใช้บริการที่เป็นผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ นักท่องเที่ยวและผู้มาใช้บริการโรงแรมที่เป็นผู้สูงอายุ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 59.75 มีอายุระหว่าง 60-64 ปี คิดเป็นร้อยละ 59.25 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 72.75 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 60.75 มีอาชีพค้าขายและธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ 43.8 รายได้ต่อเดือนมีรายได้ระหว่าง 15,000 - 20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 58.5 มีโรคประจำตัวคือ ปวดหลัง คิดเป็นร้อยละ มีการใช้อุปกรณ์ช่วยในการดำเนินชีวิต คือ แว่นตา คิดเป็นร้อยละ 72 รองลงมาเป็นการใช้ไม้เท้า คิดเป็นร้อยละ 4.0 การรับรู้ข้อมูล กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคาร พบว่า ส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 73.8 เมื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่เป็นผู้สูงอายุต่อสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรม พบว่า ผู้มาใช้บริการที่เป็นผู้สูงอายุมีความพึงพอใจเฉลี่ยอยู่ในระดับมากในทุกด้านเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ย ได้แก่ ความพึงพอใจต่อป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกการมีเครื่องหมายแสดงทางไปสู่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ มีความชัดเจนมองเห็นได้ง่ายติดอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมมีแสงส่องสว่างเป็นพิเศษทั้งกลางวันและกลางคืน การมีทางลาดและลิฟต์ บันไดอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ ที่จอดรถสำหรับผู้สูงอายุ ทางเข้าอาคาร ทางเดินระหว่างอาคาร และทางเชื่อมระหว่างอาคารสำหรับผู้สูงอายุ ประตูสำหรับผู้สูงอายุ ห้องสุขาสำหรับผู้สูงอายุ แนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรมและที่พักสำหรับผู้มาใช้บริการที่เป็นผู้สูงอายุ โรงแรมควรมีการแสดงให้ผู้เข้าพักเห็นอย่างชัดเจนว่ามีการให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้ใช้บริการมั่นใจว่าจะได้รับความสะดวก และความปลอดภัย รวมถึงโรงแรมควรมีการจัดฝึกอบรมพนักงาน เพิ่มทักษะให้มีความรู้ในเรื่องของการบริการด้านการช่วยเหลือผู้สูงอายุ หรือผู้พิการที่ต้องการความช่วยเหลือ
คําสําคัญ : โรงแรม, ส่ิงอํานวยความสะดวก, ผู้สูงอายุ
Abstract
The purpose of this research were to study the satisfaction of hotel and accommodation facilities of the guest who are senior citizens. The sample of this study were 400 tourists and hotel guests who are elderly. The instrument used for data collecting was questionnaire. Using quantitative analysis frequency, percentage, mean and standard deviation. The result of the research showed that the majority of the respondents were female 58.2 percent, aged between 60 - 64 years. Most of the respondents were married with 57.75 percent, with the bachelor degree education the most, 58.62 percent, most of them were self-employed and personal businesses. The average monthly income was 15,000 - 20,000 baht, 59.5 percent. When analyzing the satisfaction of elderly service users with hotel facilities ,the results showed that the elderly service users had a high level of satisfaction in all aspects, including the satisfaction with the facility signs. The satisfaction of the respondants also had high level with the lighting of place, having ramps and elevators /Ladders for the elderly, Parking for the elderly, the entrance to the building and walkway between buildings And the connecting route for the elderly, doors for the elderly, toilets for the elderly. The Guidelines for improving hotel and accommodation facilities for elderly guests, hotels should clearly show to the guests that the elderly facilities are complied with the laws and international standards to ensure that the guests will receive convenience and safety. In addition, the hotel should provide staffs training to increase skills to about elderly services and assisting the elderly guests.
Keywords: Hotel, facilities, senior citizens
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์