การส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น The Promoting Dietary Behavior to Prevent Overweight by Using STEM Education of Junior High School Students

Main Article Content

Lattapol Kampirapawong

Abstract

บทคัดย่อ   


            การศึกษาวิจัย เรื่อง การส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ปีการศึกษา 2560 จำนวน 810 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน (ม.3/2) กลุ่มควบคุม 30 คน (ม.3/6) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยกลุ่มทดลองได้รับการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนตามปกติ เป็นระยะเวลา 6 คาบเรียน คาบเรียนละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM Education ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive statistics) โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที (Dependent Samples t-test และ Independent Samples t-test)


            ผลการวิจัยพบว่า


            1) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            2) ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติ พฤติกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกินสูงขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


คำสำคัญ : พฤติกรรมการบริโภคอาหาร/ภาวะน้ำหนักเกิน/STEM Education/นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น  


Abstract   


            A study on promoting dietary behavior to prevent overweight by using STEM education of junior high school students is a quasi-experimental research design.  The aim of this study is to study the outcomes of promoting dietary behavior to prevent overweight by using STEM education of junior high school students at Kasetsart University Laboratory School, Center for Educational Research and Development.  The research population consisted of 810 junior high school students at Kasetsart University Laboratory School, Center for Educational Research and Development in the academic year 2017.  The samples consisted of 60 students in grade 9 in the academic year 2017.  The samples were divided into an experimental group consisting of 30 students (Class 3/2) and a control group consisting of 30 students (Class 3/6).  The samples were selected by Sample Random Sampling. The dietary behavior of experimental group was promoted to prevent overweight by using STEM education.  The control group was provided with regular learning activities of school in a 50-minute class period for 6 class periods.  The instrument to collect the data was a questionnaire on promoting dietary behavior to prevent overweight by using STEM education of junior high school students.  Descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation, the Dependent Samples t-test and the Independent Samples t-test were used to analyze the data.


            The findings indicated that


            1) After the experiment, an average score of the experimental group on knowledge, attitude and behavior related to the dietary behavior to prevent overweight was higher and was significant at the .05 level.


            2) After the experiment, an average score of the experimental group on knowledge, attitude and behavior related to the dietary behavior to prevent overweight was higher than the control group with a .05 level of significance.


Keywords: Dietary Behavior/Overweight/STEM Education/Junior High School Students

Article Details

Section
Research Articles