ผลของการฝึกด้วยความแข็งแรงรูปแบบฟังก์ชั่นนอลเทรนนิ่ง และแบบพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรง ความเร็ว และ ความคล่องแคล่วว่องไว ในนักกีฬาฟุตบอล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยความแข็งแรงรูปแบบฟังก์ชั่นนอลเทรนนิ่งและแบบพลัยโอเมตริกที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไว ในนักกีฬาฟุตบอลและพัฒนารูปแบบการฝึกรูปแบบฟังก์ชั่นนอลเทรนนิ่งและแบบพลัยโอเมตริก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ นักกีฬาฟุตบอล ทีมมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวนทั้งหมด 45 คน อายุ 19-23 ปี โดยนำค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นตัวคัดเลือกและแบ่งกลุ่มตัวอย่าง 30 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน โดยใช้วิธีการจัดเข้ากลุ่มแบบง่าย คือ กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 1 ทำฝึกความแข็งแรงรูปแบบฟังก์ชั่นนอลเทรนนิ่งและกลุ่มที่ 2 ทำการฝึกพลัยโอเมตริก ทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้ One-way ANOVA และเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดลองโดยใช้ matched pair t-test ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่าเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความเร็วในการวิ่งระยะทาง 30 เมตร และความคล่องแคล่วว่องไว ระหว่างกลุ่มภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 8 สัปดาห์ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลของการฝึกทั้ง 3 รูปแบบ พบว่าส่งผลต่อการพัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความเร็วในการวิ่งระยะทาง 30 เมตรและความคล่องแคล่วว่องไวในนักกีฬาฟุตบอล
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
เจริญ กระบวนรัตน์. (2551). เอกสารประกอบการอบรมการพัฒนาความสามารถของนักกีฬาด้วยการฝึกกล้ามเนื้อ. กองสมรรถภาพการกีฬา ฝ่ายวิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
ชูศักดิ์ เวชแพทย์ และกันยา ปาละวิวัฒน์. (2536) สรีรวิทยาการออกกำลังกาย (พิมพ์ครั้งที่ 4). ธรรกมลการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
วรศิษฎ์ ศรีบุรินทร์, ราตรี เรืองไทย และไถ้ออน ชินธเนศ. (2553). ผลของการฝึกระหว่างเกมสนามเล็กและแบบฝึกเฉพาะเจาะจงต่อสมรรถภาพด้านแอโรบิคและแอนแอโรบิคในนักกีฬาฟุตบอล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 10(1).
Allerheiligen, W.B., ed. (1994). Speed Development and Plyometric Training. In Essentials of Strength and Conditioning, ed. T.R. Baechle. Champaign, IL: Human Kinetics.
Barnes, Chris, Archer, David, Bush, Michael, Hogg, Robert and Bradley, Paul. (2014). The Evolution of Physical and Technical Performance Parameters in the English Premier League. International Journal of Sports Medicine, 35. pp. 1-6. ISSN 0172-4622
Cohen J (1988) . Statistical power analysis for the behavioral sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum;
Heyward, V. H. (1998). Advanced Fitness Assessment & Exercise Prescription. Campaign, Illinois: Human Kinetics.