ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ ฟิตเนสเซ็นเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของเขตกรุงเทพมหานคร The Marketing Mix Affecting Decision Of Using Service Fitness Center Of Private Higher Education Institution In Bangkok Metropolitan

Main Article Content

Usa Srichaiya

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดแบ่งตามเพศ ระดับชั้นการศึกษาที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างจานวน 448 คน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า”ที”และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว กรณีพบความแตกต่างรายคู่ จะวิเคราะห์ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชายและเพศหญิงจำนวนเท่ากัน มีอายุ 18-22 ปีขึ้นไป มีระดับการศึกษาในระดับปริญญาตรีเป็นนิสิตนักศึกษาของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เข้าใช้บริการฟิตเซ็นเตอร์ช่วงวันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา14.01 น. - 18.00 น. เข้าใช้บริการเพราะมาออกกำลังกาย ใช้เวลา1ชั่วโมงต่อครั้ง มาใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์1–5 ครั้งต่อเดือน เสียค่าใช้จ่ายเมื่อมาใช้บริการ 100 - 150 บาท บาทต่อครั้ง เหตุผลสำคัญในการเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ คือ ที่ตั้งของฟิตเนสเซ็นเตอร์อยู่ใกล้ที่พักสะดวกต่อการเดินทาง การใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนคือการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ


1.ผู้ใช้บริการมีการตัดสินใจใช้บริการส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการบริการ ด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ และด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ


2.ผลการเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดจาแนกตามเพศและระดับการศึกษาโดยการทดสอบค่า“ที” พบว่าเพศชายและเพศหญิงมีการตัดสินใจส่วนประสมทางการตลาดไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3.ผลการเปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์กับส่วนประสมทางการตลาดจำแนกตามระดับการศึกษา โดยการวิเคราะห์พบว่า ผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการตัดสินใจส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


4.ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติระดับ .05 เมื่อจำแนกค่าสัมประสิทธิการถดถอยในแบบคะแนนมาตรฐาน (Beta coefficient) พบว่าการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของเขตกรุงเทพมหานครมีอิทธิพลทางบวก

Article Details

Section
Research Articles