ผลของการฝึกจินตภาพที่มีต่อความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคม และภาพลักษณ์ทางกาย EFFECT OF IMAGERY ON SOCIAL PHYSIQUE ANXIETY AND BODY IMAGE
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกจินตภาพที่มีต่อความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคม และภาพลักษณ์ทางกายของตนเอง ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายสูงและผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้เป็นนิสิตที่อาสาสมัคร จำนวนทั้งสิ้น 80 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 18.97, (SD = 1.09) โดยนิสิตทั้งหมดตอบแบบสอบถามประสบการณ์ในการออกกำลังกาย ก่อนถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 40 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างงาย จากนั้นทำการฝึกตามโปรแกรมจินตภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้งๆละ 60 นาที ประกอบด้วย ฝึกจินตภาพ 6-10 นาที และออกกำลังกาย 50 นาที โดยการให้ผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายสูง (กลุ่มที่ 1) และผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายต่ำ (กลุ่มที่ 2) ทำตามขั้นตอน คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ตามด้วยการออกกำลังกายในสัปดาห์ที่ 1-4 และในสัปดาห์ที่ 5-8 ออกกำลังกายแล้วตามด้วยการฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกาย กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่เริ่มต้นโดยการออกกำลังกาย ตามด้วยการฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายในสัปดาห์ที่ 1-4 และในสัปดาห์ที่ 5-8 ฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายตามด้วยการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวัดความแปรปรวนแบบทางเดียววัดซ้ำ (One Way Repeated Measures จากนั้นทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD
ผลการวิจัย พบว่า ภาพลักษณ์ทางกายมีความแตกต่างกันระหว่างสัปดาห์ที่ 1 กับสัปดาห์ที่ 8 และสัปดาห์ที่ 4 กับสัปดาห์ที่ 8 (F = 3.16 , p = .04) ซึ่งแสดงว่า การฝึกจินตภาพทำให้มีภาพลักษณ์ทางกายดีขึ้น ส่วนการเปรียบเทียบการฝึกจินตภาพของกลุ่มที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายต่ำและสูงในระยะก่อนการทดลอง สัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 พบว่า มีความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมและภาพลักษณ์ทางกายไม่แตกต่างกัน [(F = .29 , p = .58), (F = .13 , p = .71)] ตามลำดับ แสดงว่า การฝึกจินตภาพทำให้ภาพลักษณ์ทางกายที่ดีขึ้น และหลังจากฝึกจินตภาพไปแล้วในกลุ่มที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายที่สูงและต่ำ ความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมและภาพลักษณ์ทางกายไม่แตกต่างกัน แต่มีพัฒนาการตามระยะเวลาการทดลอง
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์