รูปแบบการบูรณาการความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการพัฒนา นักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนไทยเพื่อความเป็นเลิศ

Main Article Content

รดมยศ มาตเจือ
ฉัตรกมล สิงห์น้อย
พูลพงศ์ สุขสว่าง
ศักดิ์ชาย พิทักษ์วงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนไทยเพื่อความเป็นเลิศ และเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนานักกีฬาว่ายน้ำฯ การศึกษาใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธีประกอบด้วยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานักกีฬาว่ายน้ำฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ปกครองและผู้บริหารของสโมสรกีฬาว่ายน้ำจาก 75 สโมสร (สโมสรละ 5 คน ผู้ฝึกสอนจำนวน 2 คน ผู้ปกครองจำนวน 2 คน และผู้บริหารจำนวน 1 คน) รวมทั้งหมด 375 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจำนวน 53 ข้อ 9 องค์ประกอบที่ระบุถึงความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานักกีฬา การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างด้วยโปรแกรม LISREL 10.1 และระยะที่ 2 เป็นการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนานักกีฬาว่ายน้ำฯ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการอภิปรายกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า


1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนานักกีฬาว่ายน้ำฯ สามารถแบ่งได้ 9 ปัจจัย ประกอบด้วย 1) การพัฒนาและการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง 2) โครงสร้างและนโยบายการบริหาร 3) อุปกรณ์ สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก 4) งบประมาณและการบริหารงบประมาณ 5) สวัสดิการและขวัญกำลังใจของนักกีฬาและผู้ฝึกสอน 6) การพัฒนาผู้ฝึกสอน 7) การคัดเลือกนักกีฬาเป็นสมาชิกและเป็นตัวแทนสโมสรเพื่อการแข่งขัน 8) การแข่งขันระดับชาติและนานาชาติ และ 9) วิทยาศาสตร์การกีฬาและการวิจัย ซึ่งการวัดประสิทธิผลของการพัฒนานักกีฬาว่ายน้ำฯ จาก 9 ปัจจัยด้วยองค์ประกอบ 6 ด้าน เรียงตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ 1) ความพึงพอใจของสมาชิก 2) ความสามารถในการปรับตัวของสโมสร 3) ประสิทธิภาพของสโมสร 4) การอยู่รอดของสโมสร 5) ผลงานของสโมสร และ 6) การพัฒนาสโมสร


2. รูปแบบการพัฒนานักกีฬาว่ายฯ ที่สร้างขึ้นโดยบูรณาการการทำงานร่วมกันทั้ง 9 ปัจจัยสามารถนำไปใช้วัดประสิทธิผลของการพัฒนานักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนไทยเพื่อความเป็นเลิศได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์คั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์.

ธนูชัย พัวพันธ์พงษ์, (2563, 11 มิถุนายน). หัวหน้าผู้ฝึกสอนนักกีฬาว่ายน้ำเยาวชนทีมชาติไทย. สัมภาษณ์

พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

(2), 136-145.

พรพจน์ ไชยนอก และศักดิ์ชาย พิทักษ์วงศ์. (2555). การบูรณาการวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อการฝึกซ้อมและการแข่งขันในนักกีฬาว่ายน้ำ. วารสารวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 13(2), 1-17.

วิศท์ เศรษฐกร. (2556). ข้าราชการปฏิบัติการ:ทรัพยากรมนุษย์ กลุ่มสำคัญในการบริหาร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง, 1(2), 87-97.

สุรวุฒิ มหารมณ์. (2558). มหกรรมกีฬาซีเกมส์เกมส์แห่งมิตรภาพ. กรุงเทพฯ.

สืบสาย บุญวีรบุตร และลัดดา เรืองมโนธรรม. (2558). ระบบการดำเนินการ และปฏิบัติงานในการพัฒนานักกีฬาเป็นเลิศ ของประเทศไทยสู่ความยั่งยืน ต่อเนื่อง และมีประสิทธิผล.วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 16(3), 1-14.

De Bosscher, V., De Knop, P., Van Bottenburg, M., Shibli, S; & Bingham, J. (2009). Explaining Inter national sporting success: An international comparison of Elite Sport Systems and Policies in six countries. Sport Management Review, 12(3), 113-136.

Ding, L., Velicer, W., & Harlow, L. (1995). Effect of estimation methods, number of indicators per factor and improper solutions on structural equation modeling fit indices. Structural Equation Modeling, 2, 119-143.

Green, M., and Houlihan, B, (2005). Elite Sport Development. Policy Learning and Political Priorities. London and New York: Routledge.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2016). A beginner’s guide to structural equation modelling. 4th ed. New York: Taylor & Francis.