รูปแบบการจัดกิจกรรมเรือพายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและความเข้มแข็งของชุมชน Management Model for Longboat Activity to Promot the Sport Tourism and Strengthen Community

Main Article Content

วีระศักดิ์ แก้วทรัพย์

Abstract

บทคัดย่อ


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการกิจกรรมเรือพายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬาและความเข้มแข็งของชุมชน  เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้กระบวนการแบบ PAOR มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง  จากผู้ให้ข้อมูล การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมการแข่งขันเรือพายในจังหวัดน่าน 2) กลุ่มนักวิชาการด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจังหวัดน่าน ร่วมกับกลุ่มผู้ที่มีความคุ้นเคยและใช้ประโยชน์จากแหล่งท่องเที่ยวหรือผู้มีความรู้ความเข้าใจในทรัพยากรการจัดการแข่งขันเรือพายและการท่องเที่ยว 3) สมาชิกในชุมชน นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต สัมภาษณ์ มาวิเคราะห์เพื่อนำมาสร้างรูปแบบกิจกรรมเรือพายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา และความเข้มแข็งชุมชน


               ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีส่วนร่วมกันในทุกขั้นตอนของการจัดทำรูปแบบ ประกอบด้วย กระบวนการบริหารจัดการกิจกรรม 4 ด้าน คือ 1) ด้านการวางแผน จำนวน 10 องค์ประกอบ คือ กำหนดชุมชนหลัก กำหนดผู้รับผิดชอบ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ แผนการดำเนินงาน กิจกรรม แผนด้านบุคลากร บรูณาการร่วมกันภายในและภายนอกชุมชน งบประมาณ  ด้านสถานที่เหมาะสมกับการจัดกิจกรรมด้านการตลาด และชุมชนร่วมกันสะท้อนผล  2) ด้านการจัดองค์การจำนวน 5 องค์ประกอบ คือ ชุมชนร่วมกันกำหนดและออกแบบกิจกรรม โครงสร้างชมรมเรือพาย กำหนดคุณสมบัติ และจัดอบรมคณะกรรมการดำเนินการ  3) ด้านการนำไปปฏิบัติจำนวน 3 องค์ประกอบ คือ กลุ่มเป้าหมาย กระบวนการจัดกิจกรรม  และชุมชนได้รับผลประโยชน์จากกิจกรรม  4) ด้านการควบคุมจำนวน 3 ด้าน คือ ชุมชนร่วมกันสะท้อนผล จัดทำคู่มือ และการประเมินโดยชุมชนและ ส่วนประสมการตลาด มีอยู่ 3 องค์ประกอบ ด้านการประชาสัมพันธ์ กำหนดราคาค่าบริการด้านการท่องเที่ยว การสร้างและการนำเสนอภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้สอดคล้องกับบริบทของในชุมชน มีความตระหนักถึงการทำงานและการเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางของชุมชนร่วมกันเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน


คำสำคัญ: รูปแบบ กิจกรรมเรือพาย ส่งเสริมการท่องเที่ยว ความเข้มแข็งชุมชน


Abstract   


           The purpose of this research was to create management model for longboat activity to promote the sport tourism and strengthen community. The research presented by Participatory Action Research : PAR, Use a PAOR process. Which collected data by user relevant secondary data, Semi-structured interview, Inclusion of the following: 1)A longboat activity specialist group that has been involved with the longboat racing in Nan province, Thailand. 2) An academic from the Tourism and Cultural Authority of Nan, Thailand, a intimate group that has benefit from the tourism or the people who have a understanding of longboat racing and a tourism.3) the analytical information by a members of the community.


               Results of the study yields the managerial model consisted of 4 elements management process were collaborative from the community as follows. 1)Planning-ten components includes community identification, the framework for collaborating community partnerships and a host plan, recruiting a manager and committee, establishing goals and objectives, creating action plans for activities, organizing personnel, budgetting, facilities and equipment, managing marketing activities, Reflection by the community. 2) Organizing-the five components for establishing and grouping of tasks include activities designed by the community, the longboat club and the committee.


3) Implementing-included target group and the activity process and the return to community


4) Controlling-the three included community reflection, a handbook and community assessment. Marketing Mix included mixed factors such as a promotion of public relations, service pricing and ecotourism encouragement. they the realized and arrived of community's problems and have a sense of belonging and  want to share direction for community’s management.


Keywords:   Management model, Longboat activity, Sport tourism, Strengthen community

Article Details

Section
Research Articles