การวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจกีฬาเทนนิสเท็นส์ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พิชชากร ก้านกนก
เสาวลี แก้วช่วย
พราม อินพรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจกีฬาเทนนิสเท็นส์ในกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจกีฬาเทนนิสเท็นส์ในกรุงเทพมหานครโดยจำแนกตามประเภทกลุ่มของผู้ปกครอง การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยใช้การวิจัยแบบศึกษาสำรวจ (Survey Study) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ปกครองที่มีลูกอายุไม่เกิน 10 ปีในกรุงเทพมหานคร จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ปกครองที่เข้ามาใช้บริการธุรกิจกีฬาเทนนิสเท็นส์ ผู้ปกครองที่เข้ามาใช้บริการธุรกิจกีฬาชนิดอื่น ผู้ปกครองที่ไม่ได้เข้ามาใช้บริการธุรกิจกีฬาใด มีจำนวน 405 คน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า


              


               (1) ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจกีฬาเทนนิสเท็นส์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.44, SD=0.47) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) อยู่ในระดับมาก (M=4.46, SD=0.51) ด้านราคา (Price) อยู่ในระดับมาก (M=4.45, SD=0.58) ด้านสถานที่ให้บริการ (Place) อยู่ในระดับมาก (M=4.46, SD=0.54) ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) อยู่ในระดับมาก (M=4.24, SD=0.58) ด้านบุคคล (People) อยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.50, SD=0.53) ด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence) อยู่ในระดับมาก (M=4.44, SD=0.49) ด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.53, SD=0.57)


               (2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของผู้ปกครองที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจกีฬาเทนนิสเท็นส์ในกรุงเทพมหานคร เมื่อจำแนกตามกลุ่มของผู้ปกครอง ในภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F = 18.27, p =.00) จึงทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของ Bonferroni พบว่า ความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจกีฬาเทนนิสเท็นส์ในกรุงเทพมหานคร ของผู้ปกครองที่เข้ามาใช้บริการธุรกิจกีฬาเทนนิสเท็นส์ (4.59) สูงกว่า ผู้ปกครองที่เข้ามาใช้บริการธุรกิจกีฬาชนิดอื่น (4.26) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.). วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2563, สืบค้นจาก https://bsc.dip.go.th/th/category/quality-control/qs-expandproductlifecycle

กานต์นภัส สุรพงษ์รักเจริญ. (2557). การศึกษาความพึงพอใจในการใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภาวดี บุญธรรม. (2557). ความพึงพอใจของสมาชิกผู้ใช้บริการศูนย์ออกกำลังกายในร่มของการกีฬาแห่งประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิโรจนี พรวิจิตรจินดา. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานออกกำลังกาย กรณีศึกษาทรู ฟิตเนสและฟิตเนส เฟิรส์ท. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สถาบันเทนนิสปีรามิด. (ม.ป.ป.). หลักสูตร Tennis 10s (ระดับพื้นฐาน). สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2560, สืบค้นจาก http://www.pyramidtennis.com/product/product-detail.php?product_id=2&lang=th

สหพันธ์เทนนิสนานาชาติ. (2011). Tennis10s. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2560, สืบค้นจาก http://www.tennisplayandstay.com/media/124413/124413.pdf