การวิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของโรงแรมห้าดาวในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของโรงแรมห้าดาวในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของโรงแรมห้าดาวในเขตกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ ตัวอย่างการวิจัย คือ ผู้ที่ออกกำลังกายโดยเป็นสมาชิกของฟิตเนสเซ็นเตอร์ของโรงแรมห้าดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- องค์ประกอบการตัดสินใจเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของโรงแรมห้าดาวในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านสถานที่ และด้านส่งเสริมทางการตลาด ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (Chi-square) มีค่าเท่ากับ 1.98, p = 0.37 ที่องศาอิสระ เท่ากับ 2 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.98 และค่าดัชนีของรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.00 น้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปร ทั้ง 4 ตัวแปร มีค่าเป็นบวก ขนาดตั้งแต่ 0.41–0.84 และทุกตัวแปรมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบสูงที่สุด คือ ตัวแปรราคา รองลงมา คือ ผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมทางการตลาด และสถานที่ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ เท่ากับ 0.84, 0.60, 0.54 และ 0.41 ตามลำดับ
- ผลการเปรียบเทียบระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของโรงแรมห้าดาวในเขตกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ พบว่า ตัวแปรคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการที่มีผลให้คะแนนเฉลี่ยการตัดสินใจเลือกใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของโรงแรมห้าดาวในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
จิราภา พึ่งบางกรวย. (2552). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ในกรุงเทพมหานคร. สักทองวารสารการวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 15(1). 76-90.
เดชาธร ตั้งศิริยางค์กูล. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมมวยไทยในสนามมวยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประภานันท์ โพธินาค. (2554). ความต้องการส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการทางการกีฬาและการออกกำลังกายในการกีฬาแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อธิปวัฒน์ ฉัตรกมลธรรม. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมบาสเกตบอลไทยแลนด์ลีก2016. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุษา ศรีไชยา. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการฟิตเนสเซ็นเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Kotler, P. (2000). Marketing Management: The Millennium edition (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Satit, R. P., Tat, H. H., Rasli, A., Chin, T. A., & Sukati, I. (2012). The Relationship Between Marketing Mix And Customer Decision-Making Over Travel Agents: An Empirical Study. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 6(2). 521-530.
Wright, B. K., Williams, A. S., & Byon, K. K.. (2017). Brand marketing via Facebook: An investigation of the marketing mix, consumer-based brand equity, and purchase intention in fitness industry. Marketing Management Journal, 27(2). 131-142.