ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของครูในจังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของครูในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของครูในจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 บุรีรัมย์ จำนวน 400 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต มีค่าความตรงเท่ากับ 0.93, 0.92 และ 0.97 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92, 0.86 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูในจังหวัดบุรีรัมย์มีความเชื่ออำนาจควบคุมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ โดยมีความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพภายในตนมากที่สุด ส่วนความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพจากผู้อื่นและความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพแบบบังเอิญอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ครูในจังหวัดบุรีรัมย์มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีและมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของครูในจังหวัดบุรีรัมย์มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของครูในจังหวัดบุรีรัมย์มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
สรุปผลการวิจัย ครูในจังหวัดบุรีรัมย์ส่วนใหญ่มีความเชื่ออำนาจควบคุมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นควรส่งเสริมให้ครูมีระดับความเชื่ออำนาจควบคุมสุขภาพเพิ่มขึ้น เพราะจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2561). โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชโลธร เสียงใส และสุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีกิจกรรมทางกายของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 16(3). 63-75.
ชัยนาท ตั้งสุวรรณกุล. (2555). การอบรมโครงการเมืองน่าอยู่. ชลบุรี: ศูนย์อนามัยและสิ่งแวดล้อม.
ไทยรัฐออนไลน์. (2554). โรคภัยไข้เจ็บรุมเร้าคร่าชีวิตแม่พิมพ์อื้อ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2561, สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/191645
ไทยรัฐออนไลน์. (2556). เตือน ‘5 โรคร้าย’ อันตรายต่อ ‘ครู’ แนะเทคนิคดูแลสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2561, สืบค้นจาก thairath.co.th/content/320315
นิตยา พรมพินิจ, วัลนิกา ฉลากบาง และพิศุทธิ์ กิติศรีวรพันธุ์. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพชีวิตครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(3). 42-47.
พรรณี ปานเทวัญ. (2533). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจภายใน – ภายนอกตน ด้านสุขภาพอนามัย ปัจจัยพื้นฐานบางประการกับแบบแผนการดำเนินชีวิตของ คนงานหญิงโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอใน เขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปรญญามหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระราชบัณณัติสุขภาพแห่งชาติ. (2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 16 ก. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2561, สืบค้นจาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%CA71/%CA71-20-9999-update.pdf
พวงทอง ป้องภัย. (2540). พฤติกรรมศาสตร์เบื้องต้น. ปัตตานี: ภาควิชาพลศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
สนุก สิงห์มาตร, พิกุล มีมานะ และธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี. (2560). คุณภาพชีวิตตามวิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดยโสธร. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(2). 147-160.
สโรชา อยู่ยงสินธุ์ และสุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจควบคุมทางสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพและคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 16(2). 73-86.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์. (2561). ข้อมูลรายงาน : จำนวนสถานศึกษา นักเรียน ครู และห้องเรียนจำแนกรายอำเภอและสังกัด ปีการศึกษา 2560. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2561, สืบค้นจาก http://eduwh.moe.go.th/pub/report/stat/?cmd=report&year=2560& rep=3&zone=&prov=31&div=&area=
สุภัชฌาน์ ศรีเอี่ยม, อังคนา กรัณยาธิกุล, กนกวรรณ ปานสุขสาร และสายนภา วงศ์วิศาล. (2562). รูปแบบกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน และครูในเขตเทศบาลตำบลโคกสูง จังหวัดสระแก้ว. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3). 149-162.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกทุก 100 ตัวชี้วัด และ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.
อรชา อุดม และสำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2562). คุณภาพชีวิตการท างานของครูโรงเรียนวัดหวายเหนียว “ปุญสิริวิทยา” จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2). 1005-1017.
อิ่มทิพย์ อนิศดา และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2555). คุณภาพชีวิตของครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร, 3(1). 77-86.
Jimenez, D.E., et al. (2016). Health behavior change benefits: Perspectives of Latinos with serious mental illness. Transcultural Psychiatry, 53(3). 313-329.
Octari, T.E., Suryadi, B., & Sawitri, D.R. (2020). The role of self-concept and health locus of control on quality of life among individuals with diabetes. Jurnal Psikologi, 19(1). 80-94.
Pender, N.J. (1987). Health Promotion in nursing practice. (2nd ed.). New York: Appleton & Lange.
Pourhoseinzadeh, M., Gheibizadeh, G., Moradikalboland, M., & Cheraghian, B. (2017). The Relationship between Health Locus of Control and Health Behaviors in Emergency Medicine Personnel. IJCBNM, 5(4). 397-403.
Rotter, J.B. (1996). Generalization Expectancies for Internal Versus External Control of Reinforcement. Psychological Monographs: General and Applied, 80(1). No. 609.
Sharif, S.P. (2017). Locus of control, quality of life, anxiety, and depression among Malaysian breast cancer patients: The mediating role of uncertainty. European Journal of Oncology Nursing, 27, 28-35.
Strickland, B.R. (1978). Internal-External Control of Reinforcement in Personality Variables in Social Behavioral. Edited by Thomas Blass. New York: John Wiley and Son.
Wallston, K.A., Wallston, B.S., & DeVellis, R. (1978). Development of the Multidimensional Health Locus of Control (MHLC) Scale. Health Educ Monogr, 6(2). 160-170.
West, L.M., Theuma, R.B., & Cordina, M. (2018). Health locus of control: Its relationship with medication adherence and medication wastage. Research in Social and Administrative Pharmacy, 14(11). 1015-1019.