รูปแบบการให้บริการวิทยาศาสตร์การกีฬาในการพัฒนานักกีฬาเป็นเลิศสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดชลบุรี การแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 45 สงขลา ภายใต้โครงการ"ชลบุรีเฮาส์" The Development of Sport Science Services Model's for Elite Athletes under Chonburi House Project in the 45th Thailand National Games at Songkla Province.

Main Article Content

ratthawan hengkrawit

Abstract

       The purposes of this study were to explore the needs and satisfaction on services at the 45th National Games and to build the model of sport science's service which has been based on " the Chonburi House Project " which based on sport science and style of services in sport science. Furthermore, this model is applied in the development of elite athletes of Chonburi Sport Province Association. Document analysis and 5 experts were interviewed to identify the needs and service satisfactions were surveyed from 121 athletes by the Likert scale questionnaire .The model was confirmed by focus group.


            The results revealed that the needs were consisted of activities, knowledge and the period of training and competition. The athletes for using the service of sport science were very high with the level of satisfaction (average=5.64). Besides, the model of services of sport science were included of preparation, planning and integrated with resource management. In addition, two types of services ,which are on station and mobile were extremely identified.


Keywords:  needs, satisfaction, sport science's services, elite athletes development.


      การทราบถึงความต้องการจำเป็น การบริการและรูปแบบการบริการวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อพัฒนานักกีฬาเป็นเลิศสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดชลบุรีในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ภายใต้โครงการ"ชลบุรีเฮาส์" ทำให้มีแนวทางการนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์การกีฬาไปใช้พัฒนานักกีฬาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็น ความพึงพอใจการให้บริการและสร้างรูปแบบการให้บริการวิทยาศาสตร์การกีฬา ภายใต้โครงการ"ชลบุรีเฮาส์" วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการศึกษาความต้องการจำเป็นใช้การวิเคราะห์เอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน การประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาที่รับบริการ จำนวน 121 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่ามีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ .80 และค่าความความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .90 และ การสนทนากลุ่มตรวจสอบรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 22คน


            ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาในการพัฒนานักกีฬาเป็นเลิศ ประกอบด้วย ด้านกิจกรรมและองค์ความรู้ และช่วงระยะเวลาการใช้วิทยาศาสตร์การกีฬา ผลการประเมินความพึงพอใจการให้บริการ พบว่า มีระดับความพึงพอใจอย่างยิ่ง(x=5.64) และรูปแบบการให้บริการ " ชลบุรีเฮาส์" ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1 การวางแผนจัดการทรัพยากรและองค์ความรู้เชิงบูรณาการ 2 การให้บริการในที่ตั้งและแบบเคลื่อนที่


คำสำคัญ : ความต้องการจำเป็น/ความพึงพอใจ/การให้บริการวิทยาศาสตร์การกีฬา/การพัฒนากีฬาเป็นเลิศ


 

Article Details

Section
Research Articles