การตรวจสอบความเที่ยงตรงโมเดลการวัตความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเยาวชนลาว
Main Article Content
Abstract
เพื่อให้ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีแบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจและเพื่อวิเคราะห์ระดับความเข้มแข็งทางจิตใจและ เพื่อเปรียบเทียบระดับความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาที่มีประสบการณ์และเพศที่ต่างกัน โดยการนำเอาแบบสอบถามของ ธนิดา จุลวนิชย์พงษ์ และคณะ (2553) มาแปลเป็นฉบับภาษาลาว และทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักกีฬาเยาวชนลาว ที่เข้าร่วมในงานแข่งขันกีฬา ไม่น้อยกว่า 1 ปี และมีอายุระหว่าง 14-18 ปี จำนวนทั้งสิ้น 404 คน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง 189 คน และเพศชาย 215 คน การวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเยาวชนลาวด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยการใช้โปรแกรม LISREL 8.50
ผลการวิจัยพบว่า แบบสอบถามความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเยาวชนลาว มีความตรงเชิงโครงสร้างที่ประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านความเชื่อมั่นของ ความมั่นใจเฉพาะอย่าง 2) ความรู้สึกดีเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน 3) ด้านคุณค่าของสิ่งที่ทำ 4) ด้านศักยภาพ 5) ด้านความคุ้นเคยกับสิ่งที่ทำ 6) ด้านสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเอง 7) ด้านการจัดการกับความเครียด 8) ด้านอัตมโนทัศน์ทางด้านจิตใจ 9) ด้านความคิดในทางบวก 10) ด้านความพากเพียร อุตสาหะ 11) ด้านสมาธิกับงานที่ทำอยู่ และ 12) ด้านความทุ่มเทต่อเป้าหมาย มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .95 ค่าของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบอยู่ระหว่าง .499-.989 การวิเคราะห์ความเหมาะสมเชิงโครงสร้าง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี ได้ค่าไคสแคร์เท่ากับ 42.231, P = 0.13025 ที่องศาอิสระเท่ากับ 33 และดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) = 0.983 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.959 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) = 0.999 ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (RMR) = 0.0132 และผลการวิเคราะห์ความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเยาวชนลาวโดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ( = 6.53 และ SD = 0.91) และเมื่อเปรียบเทียบความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาเพศชายและเพศหญิงพบว่า เพศชาย ( = 6.56, SD = 0.95) มีความเข้มแข็งทางจิตใจมากกว่าเพศหญิง ( = 6.49, SD = 0.86) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และความเข้มแข็งทางจิตใจของนักกีฬาที่มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมการแข่งขันที่มีประสบการณ์ 5 ปีขึ้นไป นั้นมีค่าเฉลี่ยสูงกว่า นักกีฬาที่มีประสบการณ์ 3-4 ปี และ 1-2 ปี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์