การศึกษาความฉลาดทางด้านอาหารและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในระดับครัวเรือนของประชาชนในชุมชนรัตนโกสินทร์ 200 ปี จังหวัดปทุมธานี The Study of Food Literacy and Chronic Non-Communicable Diseases in The Household Level of People in Rattnakosin 200 Year Community, Pathum Thani Province

Main Article Content

ชุติมา อ่อนขาว

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดทางด้านอาหารในระดับครัวเรือนของประชาชน เพื่อศึกษาความชุกของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในครัวเรือนของประชาชนและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านอาหารและความชุกของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชาชนในชุมชนรัตนโกสินทร์ 200 ปี จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกในครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในชุมชนรัตนโกสินทร์ 200ปี จำนวน 347 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม เรื่อง การศึกษาความฉลาดทางด้านอาหารและพฤติกรรมการบริโภคอาหารในระดับครัวเรือนของชุมชนรัตนโกสินทร์ 200 ปี จังหวัดปทุมธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ความถี่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุลอจิสติก การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 90.2 ประชาชนมีพฤติกรรมการวางแผนและการจัดการด้านอาหารคิดเป็นร้อยละ 70.5 การเลือกอาหารคิดเป็นร้อยละ 86.4 การเตรียมการประกอบอาหารคิดเป็นร้อยละ 74.2 การบริโภคอาหารคิดเป็นร้อยละ 78.9 ด้านความชุกของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในครัวเรือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 64.6 โรคหลอดเลือดสมอง ร้อยละ 13.1 โรคเบาหวาน ร้อยละ 7.8 และโรคอื่นๆ ตามลำดับ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางด้านอาหารและความชุกของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกตามลำดับความสำคัญ คือ การเลือกอาหาร การบริโภคอาหาร การเตรียมการประกอบอาหาร การวางแผนและการจัดการด้านอาหาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


คำสำคัญ : ความฉลาดทางด้านอาหาร โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พฤติกรรมการบริโภคอาหาร


Abstract   


            This research is a survey. The objective is to study food literacy at household level. To study the prevalence of chronic non-communicable diseases in households and to study the relationship between dietary intelligence and the prevalence of chronic non-communicable diseases in the 200-year Ratanakosin community in Pathumthani province. The sample consisted of 347 household members living in the Rattanakosin community. The research instruments were the questionnaire on the study of food literacy of the community 200-year  Rattanakosin in Pathumthani province. The statistic data analysis were percentage, frequency, Pearson’s correlation anal, logistic regestion .The study indicated that most of the samples were female 90.2% people had diet planning, 70.5 % of food select, 86.4 % food prepare 74.2%, food consumed 78.9% of the prevalence of chronic non-communicable diseases in the household were found to be hypertension 64.6%, stroke 13.1%, diabetic 7.8%. The prevalence of chronic non-communicable disease was found to be positively correlated with the importance of food select, food consumption, cooking preparation, food planning statistically significant at the .05 level.


Keywords : Food literacy, Chronic non-communicable disease, Food behavior

Article Details

Section
Research Articles