การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กติกาการตัดสินกีฬาแฮนด์บอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคม จังหวัดสระแก้ว E-Learning Development on the Rules of Handball For Students of MathayomSuksa 4 Wangnamyenwittayakom School Sa Keao
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เรื่องกติกาการตัดสินกีฬาแฮนด์บอล ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ด้วยผลการทดสอบเรียนก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวังน้ำเย็นวิทยาคม จังหวัดสระแก้ว ทั้งหมด 9 ห้องเรียน จำนวน 320 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน ได้มาจากการการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) เรื่อง กติกา การตัดสินกีฬาแฮนด์บอล 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้สื่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน โดยมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์มีค่ามากกว่า 0.5 โดยมีค่า0.94 ดำเนินการวิจัยโดยการทดลองตามแบบแผนการวิจัย Two Group Pretest – Posttest Design วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ร้อยละ และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กติกาการตัดสินกีฬาแฮนด์บอล รายวิชาแฮนด์บอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับดี และมีประสิทธิภาพ 82.86/85.62 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับมาก
คำสำคัญ : บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ แฮนด์บอล
Abstract
The purpose of this research for 1) Develop an electronic lesson (e-learning) on the rules of handball to be effective 80/80. 2) Compare the achievement of e-learning with the pre-study and post-study results. 3) Study students' satisfaction toward electronic learning activities. Population used in research is the fourth grade students in Wang Nam Yen Wittayakom School. All 9 classrooms total 320 students were interviewed. The sample group consisted of 70 students, 35 people in experimental group and 35 people in the control group. Tools used in research. 1) Electronic lessons (e-learning) on handball rules 2) Learning achievement tests 3) Student Satisfaction Survey on the use of e-learning materials by 5 experts with content validity. The index of correspondence between question and purpose is greater than 0.5, with a value 0.94 The research is conducted in form of Two Group Pretest - Posttest Design. The mean scores ( ), standard deviation (SD), percentage and t-test.
Research found that: 1) Electronic lessons on handball rules. Handball Course this is good level for students in grade 4 and effective 82.86/85.62 2) Learning achievement of the students was higher than the pre-test scores at .05 level. 3) Students' satisfaction toward electronic lessons was high level.
Keywords: E-learning, Handball
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์