การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยนาฏศิลป์พื้นบ้านไทยเพื่อพัฒนาการทรงตัวในผู้สูงอายุ

Main Article Content

นภสร นีละไพจิตร
เจริญ กระบวนรัตน์
บุญเลิศ อุทยานิก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยนาฏศิลป์พื้นบ้านไทยเพื่อพัฒนาการทรงตัวในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ 60-70 ปี จำนวน 44 คน ที่อาศัยในภูมิภาคตะวันตก แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดได้รับการทดสอบการทรงตัวก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสัปดาห์ที่ 4, 8, 12 และสัปดาห์ที่ 16 หลังจากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ  t-test independent การดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3  ขั้นตอน คือ 1) กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้านการออกกำลังกายเพื่อทราบ สภาพในการออกกำลังกายที่ผ่านมาและทดสอบสมรรถภาพทางกาย 2) พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกาย โดยนำโปรแกรมให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 5 คน ตรวจเพื่อหาคุณภาพของโปรแกรม 3) ประเมินโปรแกรมการออกกำลังกาย


               ผลการวิจัยสรุป ดังนี้ 1) สภาพการออกกำลังกายผู้สูงอายุ พบว่าเป็นโรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง, เหตุผลในการออกกำลังกาย คือ เพื่อคงสภาพร่างกาย, ผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชน, จำนวนความถี่ในการออกกำลังกาย 3-5 วัน/สัปดาห์, ประเภทการออกกำลังกายผู้สูงอายุ คือ เดิน, ระยะเวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายประมาณ 31-60 นาที, ช่วงเวลาที่ใช้ในการออกกำลังกายที่พบมากที่สุด คือ ช่วงเช้า, เวลา 05.00 - 09.00, สถานที่ที่นิยมใช้ในการออกกำลังกาย คือ สวนสาธารณะ และ สมรรถภาพทางกายผู้สูงอายุ ได้แก่ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อส่วนบนและล่างอยู่ในเกณฑ์ปกติ ความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด และความคล่องแคล่วว่องไวและการทรงตัวอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าปกติ 2) โปรแกรมการออกกำลังกายด้วยนาฏศิลป์พื้นบ้านไทยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 3) การทรงตัวของผู้สูงอายุของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีแตกต่างกันหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ กระบวนรัตน์. (2562). เอกสารประกอบการอบรม Intensive Senior Fitness Trainer Certification Course “การเสริมสร้างความแข็งแรงผู้สูงอายุ” ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

นฤมล สบบง. (2552). ผลของการออกกำลังกายแบบฟ้อนเจิงมช. ต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจ (วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เพ็ญพักตร์ หนูผุด. (2560). ผลของรำไทยที่มีต่อความสามารถในการทรงตัวใน ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ (ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มณีพรรณ์ เหล่าโพธิ์ศรี และคณะ. (2556). ผลของการรำไทยต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุชาวไทย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 57(3), 345-57.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2556). การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา.

ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก. (2555). ถอดรหัสการดูแลผู้สูงวัยอย่างบูรณาการ. กรุงเทพฯ: แลงแกวจ เซ็นเตอร์ แอนด์ แอดเวอร์ทิสเมนท์.

ศิริมงคล นาฎยกุล. (2551). นาฎยศิลป์หลักกายวิภาคและการเคลื่อนไหว. กรุงเทพฯ: โอเอส พริ้นติ้ง เฮาส์.

American College of Sports Medicine. (2006). ACSM s guidelines for exercise testing and Prescription (7thed.). Baltimor: Lippincott Willian & Wilkins.

American College of Sports Medicine. (2014). ACSM s guidelines for exercise testing And Prescription. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Willian & Wilkins.

Bogle-Thorban L, Newton RA. (1996). Use of the Berg balance test to predict falls in elderly persons. Phys Ther, 15, 576-583.

Carneiro, N. H., Ribeiro, A. S., Nascimento, M. A., Gobbo, L. A., Schoenfeld, B. J., Achour Junior, A., et al. (2015). Effects of different resistance training frequencies on flexibility in older women. Clin Interv Aging, 10, 531-538.

Chang, K. V., Hung, C. Y., Li, C. M., Lin, Y. H., Wang, T. G., Tsai, K. S., et al. (2015). Reduced flexibility associated with metabolic syndrome in community-dwelling elders. PLoS One, 10(1), e0117167.

Costa, T. C., Locks, R. R., Koppe, S., Yamaguti, A. M., Formiga, A., and Gomes, A. (2013). Strength and stretching training and detraining on flexibility of older adults. Top Geriatr Rehabil, 29(2), 142-148.

Granacher, U., Muehlbauer, T., Bridenbaugh, S. A., Wolf, M., Roth, R., Gschwind, Y., ...Kressig, R. W. (2012). Effects of a salsa dance training on balance and strength performance in older adults. Gerontology, 58(4), 305-312.

Sofianidis, G., Hatzitaki, V., Douka, S., & Grouios, G. (2009). Effect of a 10-week traditional dance program on static and dynamic balance control in elderl adults. Journal of aging and physical activity, 17(2), 167-180.

Sue scott. (2008). ABLE Bodies Balance Training, pp 3-14 .United States.

Young, C., Weeks, B., & Beck, B. (2007). Simple, novel physical activity maintains proximal femur bone mineral density, and improves muscle strength and balance in sedentary, postmenopausal Caucasian women. Osteoporosis International, 18(10), 1379-1387.

Williamson, P. (2011). Exercise for special populations. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins.