สมรรถภาพทางกายของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม Physical Fitness of Student in Chulalongkorn University Demonstration Secondary School

Main Article Content

ฐิติวัสส์ รัตนเย็นใจ

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างเกณฑ์สมรรถภาพทางกายของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ภาคปลาย ปีการศึกษา 2560จำนวน 1,250 คน เป็นนักเรียนชาย 661 คน และนักเรียนหญิง 589 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย 5 รายการ คือ 1) ดัชนีมวลกาย 2) นั่งงอตัวไปข้างหน้า 3) ลุก-นั่ง,30 วินาที 4) วิ่งอ้อมหลัก และ5) วิ่งระยะไกล หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านพิจารณา แบบทดสอบมาตรฐานที่สามารถวัดสมรรถภาพทางกายได้ตามจุดประสงค์โดยคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item objective congruence: IOC) ด้วยวิธีของ Rovinelli and Hambleton ได้ค่าเท่ากับ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สร้างเกณฑ์สมรรถภาพทางกายโดยใช้คะแนน “ที” (T-score) แบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5ระดับ คือ ดีมาก ดี ปานกลาง พอใช้ และ ควรปรับปรุง


               ผลวิจัยพบว่า


               1. ระดับสมรรถภาพทางกายโดยรวม 5 รายการของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม อยู่ในระดับปานกลาง


               2. เกณฑ์สมรรถภาพทางกายนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ที่สร้างขึ้นสามารถใช้ประเมินระดับสมรรถภาพทางกายของนักเรียนได้


คำสำคัญ : สมรรถภาพทางกาย นักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม


Abstract   


               The purposes of this research are to study and to construct physical fitness norms of the students in Chulalongkorn University Demonstration Secondary School.The population were 1,250 students; 661 male students and 589 female students of Chulalongkorn University Demonstration Secondary School in  semester, academic year 2017. The instruments were five Physical fitness standardized tests which contain 5 items; 1) body mass index 2) sit and reach 3) 30 second sit-ups  4) zig zag run and 5) long distance run . The index of item-objective congruence (IOC) of Rovinelli and Hambletion was judged by 5 experts for the content validity of research instruments at 1.The data were analyzed by using percentages, means, and standard deviation. The norms constructed by using     “T-score” and divided into 5 levels ; very good, good, moderate, poor and be improved.


The major results revealed that:


           1. The students of Chulalongkorn University Demonstration Secondary School were in moderate level of holistic physical fitness compared with the norms.


           2. The norms of holistic physical fitness designed by the researcher could be assessed to the students of Chulalongkorn University Demonstration Secondary School.


Keywords: Physical Fitness, Student in Chulalongkorn University, Demonstration Secondary 

Article Details

Section
Research Articles