ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ที่มีต่อความสุขของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเดชอุดม Effects of Implementing Health Promotion Program Using Growth Mindset and Pender’s Health Promotion Model on Grade 2 Students at Detudom School’ Happiness

Main Article Content

กรกนก คำโกน

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ที่มีต่อความสุขของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วันๆละ 1 ชั่วโมง และกลุ่มควบคุม 20 คน ไม่ได้รับการโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่ 1)การดูแลสุขภาพ 2)ออกกำลังกาย 3)อาหารเพิ่มความสุข4)สร้างสัมพันธภาพที่ดี 5)สร้างเป้าหมายในชีวิต 6)คิดบวกเชื่อมั่น มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.71 และแบบประเมินความสุขมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.91 ค่าความเที่ยง 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า ที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


            ผลการวิจัยพบว่า 


            1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสุขของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


            2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสุขของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


คำสำคัญ: โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ  กรอบความคิดแบบเติบโต  รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ความสุข


Abstract


            The purpose of this research was to study the effects of implementing health promotion program by using growth mindset and Pender’s health promotion model on lower secondary school students’ happiness. The sample was 40 lower secondary school students. Divided into 2 groups with 20 experimental group students eceived the implementing health promotion program by using the growth mindset and Pender’s health promotion model for 8 weeks, 3 days a week, 1 hour a day, and 20 control group students did not received the implementing health promotion program by using the growth mindset and Pender’s health promotion. The research instruments were composed of the implementing health promotion program by using the growth mindset and Pender’s health promotion model. It consist of 6 activities: 1)Health care 2)Exercise 3)Happiness food 4)Human relation 5)Goals in life and 6)Think positive. had an IOC 0.71, and the happiness evaluation form had an IOC 0.91, the reliability was 0.83. The data were analyzed by means, standard deviations and t-test by using statistically significant differences at .05 level.


            The research findings were as follows:


            1) The mean score of happiness of the experimental group students after received the implementing health promotion program were significantly higher than before at .05 level.


            2) The mean score of happiness of the experimental group students after received the implementing health promotion program were significantly higher thanthe control group students at .05 level.


Keywords: Health Promotion Progrm, Growth Mindset, Pender’s Health Promotion Model, Happiness

Article Details

Section
Research Articles