การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการจัดการคุณภาพชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา Curriculum Development on Life Quality Management for Grade 11th Students Triam Udom Suksa School

Main Article Content

สายสุนีย์ วงศ์สวัสดิ์

Abstract

บทคัดย่อ


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาการจัดการคุณภาพชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนตามหลักสูตรรายวิชาการจัดการคุณภาพชีวิต 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักเรียนที่เรียนตามหลักสูตรรายวิชาการจัดการคุณภาพชีวิต 4) เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนตามหลักสูตรรายวิชาการจัดการคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียน 40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หลักสูตรรายวิชาการจัดการคุณภาพชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 2) แผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง .20 - .80 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .20 ขึ้นไปและค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .92 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ชีวิต ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง .235 - .784 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .868 5) แบบวัดเจตคติต่อการเรียน ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง .38 - .89 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .943  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรรายวิชาการจัดการคุณภาพชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรที่มีระดับความเหมาะสมอยู่ที่ระดับ เหมาะสมมาก (x)= 4.38, SD = .60) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิตของนักเรียนในภาพรวมมีระดับพฤติกรรมอยู่ที่ระดับ ดีมากที่สุด (x= 3.26, SD = .63) 4) ผลการศึกษาเจตคติของนักเรียนในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ที่ระดับ ดี (x= 4.11, SD = .78)


คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตร การจัดการ คุณภาพชีวิต นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


Abstract


         The purposes of this study were to develop a curriculum on life quality management for grade 11th students, to compare students' learning achievement after learning from the curriculum, and to study the life behavior of students and their attitudes toward learning from the curriculum. The sample consisted of 40 students chosen by cluster random sampling from Triam Udom Suksa School in the first semester of 2018. The research instruments were the curriculum, lesson plans, achievement test, a life behavior questionnaire, and the attitude survey towards learning. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation and t-test (dependent sample). 


         The results of this research were as follows:


  1. The developed curriculum on quality life management for grade 11th students was evaluated as highly appropriate (x= 4.38, SD = .60).

  2. The Post-Test mean score was significantly higher than Pre-Test mean score with the statistical significance at .05

  3. The behaviors of students after learning the curriculum regarding quality life management were rated at the highest level. (x= 3.26, SD = .63)

  4. The students’ attitude towards learning from the curriculum was at a good level. (x= 4.11, SD = .78)

Keywords: Curriculum Development, Management, Life Quality, Grade Eleven Students

Article Details

Section
Research Articles