การเปรียบเทียบผลของการฝึกปฏิกิริยาความเร็วเท้าด้วยตารางเก้าช่อง และบันไดเชือกที่มีต่อความเร็วในการวิ่งของนักฟุตบอลหญิงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Comparison of the Effects of Reactive Foot Speed Training Using Nine Square and Ladder on The Speed of Kasertsart University Women's Soccer Players.
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกปฏิกิริยาความเร็วเท้าในรูปแบบที่แตกต่างกันด้วยตารางเก้าช่อง และบันไดเชือกที่มีผลต่อความความเร็วในการวิ่ง และเปรียบเทียบผลการฝึกปฏิกิริยาความเร็วเท้าในรูปแบบที่แตกต่างกันที่มีผลต่อความเร็วในการวิ่ง โดยมีอาสาสมัครกลุ่มตัวอย่างจากนักกีฬาฟุตบอลหญิงของทีมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 22 คน ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 11 คน คือ กลุ่มทดลองที่ 1 การฝึกปฏิกิริยาความเร็วเท้าโดยใช้ตารางเก้าช่อง และกลุ่มทดลองที่ 2 การฝึกปฏิกิริยาความเร็วเท้าโดยใช้บันไดเชือก ทั้งสองกลุ่มฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ ในวันอังคาร และวันพฤหัสบดี ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทดสอบความเร็วในการวิ่ง 40 เมตร ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนรูปแบบวัดซ้ำสองมิติเพื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความเร็วในการวิ่ง (Two-Way Repeated Measure ANOVA) เปรียบเทียบความแตกต่างของการฝึกปฏิกิริยาความเร็วเท้าระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ทดสอบความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า ความเร็วระยะทาง 40 เมตร ภายในกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มการทดลองที่ 2 ก่อนการฝึก หลังจากการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังจากการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ไม่มีความแตกต่างอย่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ความเร็วระยะทาง 40 เมตร ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มการทดลองของกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ก่อนการฝึก หลังจากการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังจากการฝึกสัปดาห์ที่ 8 พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าความเร็วในการวิ่งของนักกีฬาทั้งสองกลุ่มเร็วขึ้น ตามลำดับเวลาของการฝึกตามโปรแกรม สรุปได้ว่ารูปแบบการฝึกปฏิกิริยาความเร็วเท้าทั้งสองสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความเร็วในการวิ่งของนักกีฬาได้
คำสำคัญ : ความเร็ว การฝึกปฏิกิริยาความเร็วเท้า
Abstract
The purpose of this research was to study and compare two different reactive foot speed training forms and their effect on 40 meter running speed. The subjects used in this study were volunteers from Kasetsart University women's soccer team. There were 22 participant and divided into 2 groups with different forms of reactive foot speed training: Nine square and ladder. Each group consisted of 11 participants, and trained twice a week, Tuesday and Thursday, for 8 weeks. The subjects were tested 40 meter running speed before training, after the 4th week of training, and after the 8th week of training. Data was analyzed for mean and standard deviation of running speed. A Two-way repeated measure (ANOVA) was run to see the effects of training on running speed, and data was also compared between groups. The difference of foot speed reaction training was compared between the two trial groups before, after week 4 and after week 8, tested for significance at the .05 level.
The research found no significant difference on running speed after 4 weeks of training and after 8 weeks of training for group 1 and group 2. We also found no significant difference between groups before training, after 4 weeks of training, and after 8 weeks of training. Even with no significant difference, the research did show that nine square and ladder step reactive frequency training improved running speed in both groups as training progressed. In conclusion, both nine square and ladder step reactive frequency training can be used to help develop 40 meter running speed in athletes.
Keywords: Speed, Reactive Foot Training
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์