ผลการฝึกโปรแกรมการออกกําลังกายแบบวงจรท่ีมีต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ในหญิงที่มีน้ําหนักเกิน

Main Article Content

ติณณ์ณชัย ถิรชัยภวัฒน์กุล

Abstract




การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบวงจรที่มีต่อ เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและ อัตราการเต้นของหัวใจในขณะพักของหญิงที่มีน้ําหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างท่ี ใช้เป็นหญิงที่มีน้ําหนักเกิน จํานวน 30 คน อายุระหว่าง 30 – 45 ปี ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆละ 15 คน คือกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มที่ ปฎิบัติกิจวัตรประจําวันตามปกติ และกลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบวงจรที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น ทําการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทําการวัดเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและ ชีพจรขณะพัก ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ท่ี 8 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยค่าเฉล่ีย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียวชนิดวัดซ้ํา (One-way ANOVA with repeated measures) หากพบความแตกต่างจะทําการ ทดสอบรายคู่ (Post-Hoc Analysis) ด้วยวิธีการ LSD (Least Significant Difference) กําหนดความมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ย ของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ช่วงก่อนการ ฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ท่ี 4 และ 8 ของกลุ่มที่ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบวงจรมีค่าเท่ากับ 30.15, 29.87 และ 28.67 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉล่ียของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 เท่ากับ 30.08, 30.57 และ 31.12 ตามลําดับ 2. ค่าเฉลี่ย ของกลุ่มท่ีฝึกด้วยการฝึกแบบวงจร มีค่า อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ในช่วงก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และ 8 เท่ากับ 91.07, 90.60 และ 87.73 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉล่ียของเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ท่ี 4 และ 8 เท่ากับ 91.27, 91.27 และ 92.47 ตามลําดับ 3. ค่าเฉล่ียเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ระหว่างกลุ่ม ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบวงจรและกลุ่มควบคุม ในช่วงก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ไม่ แตกต่างกัน แต่หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05





4. ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ระหว่างกลุ่มฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบวงจรและกลุ่ม ควบคุม ในช่วงก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ไม่แตกต่างกัน แต่หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่าง กันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ของกลุ่มควบคุมในช่วง ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มทดลอง ช่วงก่อนการฝึกกับ หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของ หัวใจขณะพัก ของกลุ่มควบคุมในช่วงก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ ท่ี 4 และสัปดาห์ท่ี 8 ไม่แตกต่างกัน ส่วนกลุ่มทดลอง ช่วงก่อนการฝึกกับหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติท่ีระดับ .05 จากผลการวิจัยแสดงว่าการฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบวงจรมีผลต่อเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายและ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ในหญิงท่ีมีน้ําหนักเกิน







Article Details

Section
Research Articles