สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพและสุขภาพจิตของผู้ต้องขังก่อนปล่อยออกสู่สังคม ในเรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรภาพทางกายเพื่อสุขภาพ และสุขภาพจิตของผู้ต้องขังก่อนปล่อยออกสู่สังคม กลุ่มประชากรเป็นผู้ต้องขัง จำนวน 4,215 คน ดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงซึ่งเป็นผู้ต้องขังก่อนปล่อยออกสู่สังคม จำนวน 600 คน ผู้วิจัยดำเนินการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับประชาชนไทยของกรมพลศึกษา (2561) แบบสอบถาม General Health Questionnaire (Thai GHQ-12) เป็นแบบคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตที่พัฒนามาจาก GHQ ของ Goldberg (1972) หลังจากนั้นนำแบบบันทึกการทดสอบ และแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความสมบูรณ์แล้ว จำนวน 588 ชุด มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ต้องขังก่อนปล่อยออกสู่สังคม จำนวน 588 คน เป็นเพศชาย จำนวน 414 คน คิดเป็นร้อยละ 70.58 เพศหญิง จำนวน 174 คน คิดเป็นร้อยละ 29.42 ช่วงอายุที่พบมากที่สุด อยู่ระหว่าง 30-34 ปี ผู้ต้องขังส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ผลจากการทดสอบสมรรถภาพทางกาย พบว่า สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของผู้ต้องขังก่อนปล่อยออกสู่สังคมของเรือนจำสุพรรณบุรี รายการทดสอบดัชนีมวลกาย ทุกกลุ่มอยู่ในเกณฑ์สมส่วน รายการยกเข่าขึ้น-ลง 2 นาทีทุกกลุ่มอยู่ในระดับดีมาก รายการยืน-นั่งบนเก้าอี้ 60 วินาที ทุกกลุ่มอยู่ในเกณฑ์ดี รายการวัดแรงบีบมือ กลุ่มชายอยู่ในระดับดี กลุ่มหญิงอยู่ในระดับปานกลาง รายการนั่งงอตัวไปข้างหน้า แตะมือด้านหลังมือขวาอยู่บน แตะมือด้านหลังมือซ้ายอยู่บน ยืน-นั่งบนเก้าอี้ 30 วินาที ยกเข่าขึ้น-ลง 3 นาที และเดินเร็วอ้อมหลัก ทุกกลุ่มอยู่ในระดับปานกลาง
ผลด้านสุขภาพจิตทั่วไปของผู้ต้องขังก่อนปล่อยออกสู่สังคมของเรือนจำจังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า สุขภาพจิตของผู้ต้องขังก่อนปล่อยออกสู่สังคมส่วนใหญ่ มีภาวะปัญหาสุขภาพจิต มีคะแนน GHQ-12 = 0-2 คะแนน จำนวน 553 คน คิดเป็นร้อยละ 94.05 มีระดับภาวะสุขภาพจิตปกติ และผู้ต้องขังที่มีมีคะแนน GHQ-12 = มากกว่า 2 คะแนนขึ้นไป มีระดับภาวะสุขภาพจิตผิดปกติ จำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.95
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์