ผลของการใช้โฟมกลิ้งแบบเรียบและโฟมกล้ิงแบบไม่เรียบท่ีมีต่อความสามารถในการฟื้นตัวของนักกีฬาฟุตซอล

Main Article Content

อลงกรณ์ ปรีเปรม

Abstract




การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพ่ือศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้โฟมกลิ้งแบบเรียบ และโฟ มกลิ้งแบบไม่เรียบ ท่ีมีต่อความสามารถในการฟ้ืนตัวของกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จํานวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างจะทําการทดสอบด้วย แบบทดสอบความอดทนที่เฉพาะเจาะจงในกีฬาฟุตซอล (The Kasetsart Futsal-Specific Endurance Test: The KU F-SET) ซ่ึงเป็นรูปแบบการทดสอบท่ีจําลองลักษณะของกิจกรรมและระดับความหนักของ การแข่งขันกีฬาฟุตซอลหลังจากนั้นจะทําการฟื้นตัวโดยการใช้โฟมกล้ิงแบบเรียบโฟมกลิ้งแบบไม่เรยีบ และการนั่งพัก เป็นระยะเวลา 15 นาที แล้วทําการทดสอบความสามารถในการฟื้นตัว จากตัวแปรพลัง กล้ามเนื้อ ความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไวและระดับความรู้สึกในช่วงหลังโปรแกรมการการฟ้ืนตัวทันที หลังโปรแกรมการฟ้ืนตัว 24 ชั่วโมง และหลังโปรแกรมการฟื้นตัว 48 ชั่วโมง นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ คํานวณค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และวิเคราะห์ความ แปรปรวนรูปแบบการวัดซ้ํามิติเดียว โดยใช้สถิติ One-way analysis of variance with repeated และ





เปรียบเทียบภายหลังการวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้สถิติ Tukey โดยกําหนดความมีนัยสําคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า พลังกล้ามเนื้อ ความเร็ว และความคล่องแคล่วว่องไวหลังโปรแกรม การฟ้ืนตัวโดยใช้โฟมกล้ิงแบบเรียบ โฟมกล้ิงแบบไม่เรียบ และการนั่งพัก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติท่ีระดับ .05 ท้ังในช่วงหลังโปรแกรมการฟ้ืนตัวทันที หลังโปรแกรมการฟื้นตัว 24 ช่ัวโมงและหลัง โปรแกรมการฟ้ืนตัว 48 ชั่วโมง อย่างไรก็ดีระดับความรู้สึกภายหลังโปรแกรมการฟ้ืนตัวทันที จากการใช้ โฟมกล้ิงแบบเรียบและโฟมกลิ้งแบบไม่เรียบ มีระดับคะแนนดีกว่ากับการนั่งพักอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติท่ี ระดับ .05







Article Details

Section
Research Articles