การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดรู้ทางกายสําหรับนักเรียนไทย 2562
Main Article Content
Abstract
งานวิจัย การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดรู้ทางกายสําหรับนักเรียนไทย มีวัตถุประสงค์ เพื่อ พัฒนาแบบประเมินความฉลาดรู้ทางกายสําหรับนักเรียนไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับการศึกษาขั้น พื้นฐานระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จาก 5 ภูมิภาคของประเทศไทย ได้มาโดยการเจาะจงเลือก รวม จํานวน 583 คน ตัวแปรที่ศึกษา คือ แบบประเมินความฉลาดทางกายมาตรฐานของ The Canadian Assessment of Physical Literacy: Methods for Children in grades 4 to 6 (8-12 years) ที่พัฒนาโดยLongmuir,Boyer,Lloyd,Yang,Boiarskaia,Zhu,andTremblay(2017)ฉบับภาษาไทย เฉพาะด้าน ความรู้และความเข้าใจกับแรงจูงใจและความมั่นใจ หาคุณภาพของเครื่องมือด้วยการหาค่าความแม่นตรง (validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 5 คน และหาค่าความน่าเชื่อถือ (reliability) ด้วยการหาค่าสัมประสิทธ์ิ สหสัมพันธ์ของครอนบัค (Cronbach α ) ผลการวิจัยพบว่าแบบประเมินความฉลาดรู้ทางกายสําหรับ นักเรียนไทย ซึ่งมีจํานวนข้อคําถามทั้งส้ิน 17 ข้อ มีระดับความเชื่อมั่นของแบบประเมินทั้งฉบับอยู่ในระดับ ปานกลาง (0.676)ข้อคําถามท่ีมีค่าอํานาจจําแนกไม่ดี ไม่ควรนําไปใช้มีจํานวน 2 ข้อ ประกอบด้วย ข้อที่ 16 และข้อที่ 17 ส่วนข้อคําถามที่มีค่าอํานาจจําแนกที่สามารถนําไปใช้ได้มีจํานวน 15 ข้อ โดยแบ่งได้ดังนี้ ข้อ คําถามที่มีระดับอํานาจจําแนกได้น้อย จํานวน 6 ข้อ ประกอบด้วย ข้อที่ 1 4 6 13 14 และ มีระดับอํานาจ จําแนกได้พอใช้ จํานวน 5 ข้อ ประกอบด้วย ข้อที่ 3 5 7 9 และ 10 มีระดับอํานาจจําแนกได้มาก จํานวน 4 ข้อ ประกอบด้วย ข้อ 1 8 11 และ 12
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์