ผลของการใช้โปรแกรมนันทนาการที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 - 6 ที่มีปัญหาครอบครัวแตกแยก
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi - Experimental Research) นี้เพื่อศึกษาผลของการเข้าร่วมโปรแกรมนันทนาการที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ที่มีปัญหาครอบครัวแตกแยก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 5 - 6 โรงเรียนวัดใหญ่ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 60 คน ที่ได้มาจากการคัดกรองจากแบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง และการสุ่มแบบจับคู่ (Match Paired Sampling) ออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (กลุ่มละ 30 คน)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย : 1) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองมีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง .6 - 1.0 และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความเชื่อมั่นแอลฟ่า (Cronbach) เท่ากับ .72 และ 2) โปรแกรมนันทนาการที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง หาค่าเที่ยงตรงเชิงประจักษ์ (Face Validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิทางนันทนาการ จำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ค่าร้อยละ และทดสอบค่าที (t - test)
ผลการวิจัยพบว่า : - 1) ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองเห็นคุณค่าในตนเองแตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05และ 2)ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองเห็นคุณค่าในตนเอง แตกต่างกับกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์