ผลของโปรแกรมการฝึกแบบวงจรโดยใช้แอโรบิกแบบหนักสลับเบาเป็นฐานที่มีต่อ สมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายอ้วน

Main Article Content

วิภาดา พ่วงพี

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกแบบวงจรโดยใช้แอโรบิกแบบหนักสลับเบาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายอ้วน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายจำนวน 30 คน ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน (ตั้งแต่ +2 S.D. ถึง +3 S.D.) โดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานอ้างอิงการเจริญเติบโตน้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นโปรแกรมการฝึกแบบวงจรโดยใช้แอโรบิกแบบหนักสลับเบาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายอ้วน โดยผ่านการตรวจความเที่ยงตรงเฉพาะหน้า จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน โดยกลุ่มทดลองจำนวน 15 คน ฝึกด้วยโปรแกรมการฝึกแบบวงจรโดยใช้แอโรบิกแบบหนักสลับเบาเป็นฐานที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชายอ้วน ระยะเวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน (จันทร์ พุธ ศุกร์) วันละ 50 นาที โดยกำหนดความหนักที่ 60-85% ส่วนกลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน เรียนพลศึกษาตามปกติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานภายในกลุ่มระหว่างก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 และเปรียบเทียบผลการทดสอบหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 โดยการทดสอบค่า Independent t-test


ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการฝึกแบบวงจรโดยใช้แอโรบิกแบบหนักสลับเบา หลังการทดลอง


8 สัปดาห์ มีดังนี้


  1. การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ ของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


  3. ดัชนีมวลกาย ของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05




  4. กลุ่มควบคุมภายหลังการทดลองมีสมรรถภาพของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ สัดส่วนร่างกาย ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05



Article Details

Section
Research Articles