ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬาฟุตบอลที่เข้าร่วม การแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43

Main Article Content

พรรณาราย ชูสุวรรณ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลตามสถานการณ์ระหว่างการแข่งขัน รอบแรก รอบสอง รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศ ของนักกีฬาฟุตบอลที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักกีฬาฟุตบอลชายจำนวน 432 คน ประกอบด้วย รอบแรก จำนวน 432 คน รอบสอง จำนวน 288 คน รอบรองชนะเลิศ จำนวน 72 คน และรอบชิงชนะเลิศ จำนวน 72 คน นักกีฬาฟุตบอลหญิง จำนวน 144 คน ประกอบด้วย รอบแรก จำนวน 144 คน รอบรองชนะเลิศ จำนวน 72 คน และรอบชิงชนะเลิศ จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความวิตกกังวลตามสถานการณ์ ฉบับปรับปรุง (Revised Competitive State Anxiety Inventory – 2 (CSAI – 2R) แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดย พิชิต เมืองนาโพธิ์ ประกอบด้วย 3 ด้านคือ 1) ความวิตกกังวลทางกาย มีความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.75 มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.69 2) ความวิตกกังวลทางจิต มีความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.85 มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.67 และ 3) ความเชื่อมั่นในตนเอง มีความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.83 มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (m) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ด้านความวิตกกังวลทางกายของนักกีฬาฟุตบอลชายรอบแรกอยู่ในระดับต่ำ รอบสอง รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศอยู่ในระดับปานกลาง นักกีฬาฟุตบอลหญิงรอบแรก รอบรองชนะเลิศอยู่ในระดับต่ำ และรอบชิงชนะเลิศอยู่ในระดับปานกลาง

  2. ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ ด้านความวิตกกังวลทางจิตของนักกีฬาฟุตบอลชาย รอบแรก รอบสอง รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศอยู่ในระดับปานกลาง และนักฟุตบอลหญิง รอบแรกและรอบชิงชนะเลิศอยู่ในระดับปานกลาง รอบรองชนะเลิศอยู่ในระดับต่ำ

  3. ความวิตกกังวลทางสถานการณ์ ด้านความเชื่อมั่นในตนเองของนักกีฬาฟุตบอลชายและนักกีฬาฟุตบอลหญิง รอบแรก รอบสอง รอบรองชนะเลิศ และรอบชิงชนะเลิศอยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

Section
Research Articles