สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขที่มีต่อการจัดการแข่งขันกีฬาเทควันโด ในการแข่งขันกีฬา โรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 “สามมุขเกมส์”
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขที่มีต่อการจัดการแข่งขันกีฬาเทควันโด ในการแข่งขันกีฬาโรงเรียนกีฬาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 “สามมุขเกมส์” ประชากรจำนวน 25 คน ผู้วิจัยใช้เกณฑ์การเลือก เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬาเทควันโด ได้แก่ ฝ่ายจัดการแข่งขัน ผู้จัดการทีม และผู้ฝึกสอน จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi structured interview form) 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการแข่งขันกีฬาเทควันโด ของนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเทควันโด 3. เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการจัดการแข่งขันกีฬาเทควันโด ระหว่างนักกีฬาชายและนักกีฬาหญิง โดยมีประชากร คือ นักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเทควันโด จำนวนทั้งสิ้น 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น .91 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t -test) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมประชากรและกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 87 คน
ผลวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไข สภาพปัญหา โดยรวม พบว่า ปัญหาการจัดการแข่งขันในครั้งนี้ คือ การประชาสัมพันธ์ และระเบียบการจัดการแข่งขัน ซึ่งฝ่ายจัดการแข่งขันไม่ได้ประชาสัมพันธ์และเขียนระเบียบการจัดการแข่งขัน ถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการแข่งขันว่าเป็นอุปกรณ์ชนิดใด รุ่นใด จึงทำให้โรงเรียนกีฬาบางโรงเรียนไม่ได้นำอุปกรณ์มาใช้ในวันแข่งขัน 2. ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการแข่งขันกีฬาเทควันโด โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ 4.28, σ 0.53) พิจารณาเป็นรายด้าน ที่เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการจัดและดำเนินการแข่งขัน (µ 4.33, σ 0.54) ด้านบุคลากร (µ 4.32, σ 0.65) ด้านการประชาสัมพันธ์ (µ 4.26, σ 0.57) และ ด้านสนามแข่งขันและอุปกรณ์การแข่งขัน (µ 4.22, σ 0.60) ตามลำดับ และ 3. ความพึงพอใจต่อการจัดการแข่งขันกีฬาเทควันโด ระหว่างนักกีฬาชายและนักกีฬาหญิง ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์