การพัฒนาแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวบนพื้นทรายสำหรับนักกีฬาแฮนด์บอลชายหาด Development of Agility Test on The Sand Beach Handball Players

Main Article Content

ธนากาญจน์ เสถียรพูนสุข

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวบนพื้นทรายสำหรับ


นักกีฬาแฮนด์บอลชายหาด  กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 160 คน โดยแบ่งเป็นนักกีฬาแฮนด์บอลชายหาด ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ครั้งที่ 34 “น่านเกมส์” ปี พ.ศ.2561 จำนวน 8 ทีม ทีมละ 10 คน รวมเป็น 80 คน และนักกีฬาประเภทอื่นกับไม่ใช่นักกีฬาจำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบความแคล่วคล่องว่องไวบนพื้นทรายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งได้ผ่านการตรวจเครื่องมือด้วยการหาความเที่ยงตรง (validity) จากผู้เชี่ยวชาญ และหาค่าความเชื่อถือได้ (reliability) ด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ (test-retest) หาค่าความเที่ยงตรงตามสภาพ (concurrent validity) โดยการนำแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปหาความ สัมพันธ์กับแบบทดสอบมาตรฐานของแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว Semo Agility Test นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson-Product Moment Correlation Coefficent) ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


            ผลการวิจัยพบว่า  แบบทดสอบความแคล่วคล่องว่องไวบนพื้นทรายสำหรับนักกีฬาแฮนด์บอลชายหาด  มีความเที่ยงตรงโดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องทุกข้อ  และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความเชื่อถือได้ในระดับยอมรับได้เท่ากับ .76  มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความเที่ยงตรงตามสภาพของแบบทดสอบบนพื้นทรายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว Semo Agility Test สำหรับนักกีฬาแฮนด์บอลชายหาด นักกีฬาประเภทอื่นและไม่ใช่นักกีฬา ในระดับดีมาก .93 สรุปได้ว่า แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนี้สามารถนำไปใช้วัดและประเมินผลสมรรถภาพด้านความแคล่วคล่องว่องไวสำหรับนักกีฬาแฮนด์บอลชายหาด และเพื่อการพัฒนากีฬาชนิดนี้ต่อไป


คำสำคัญ :  การพัฒนา ความคล่องแคล่วว่องไว ทดสอบบนพื้นทราย นักกีฬาแฮนบอลชายหาด


Abstract   


            The purpose of this research was to develop the test of agility on sand for beach handball players. This study used purposive sampling method to acquired 160participants which were 80 beach handball players (8 teams of 10 players), participated in the 34 th Nan Youth Game in 2018, and 80 other athletes and non-athletes. The instrument of this research was the agility test for beach handball players which was created by the researcher and verified by the experts in sports for validity. Test-retest method was applied to determine reliability. The concurrent validity was then obtained by identifying the correlation between the created test and Semo Agility Test. The acquired data were analyzed to determine Pearson-Product Moment Correlation Coefficient. Statistical significance level was set at 0.5.


            The result of the study found that the test on agility on sand for beach handball players is valid according to the index of item-objective congruence. The correlation coefficient of reliability is at an acceptable level, at .76. The correlation coefficient of concurrent validity of the agility on sand test created by the researcher and Semo Agility Test for beach handball players, other athletes and non-athletes is at an excellent level, at .93. In conclusion, this agility test created by the researcher can be used to measure and assess the agility of beach handball players and to further develop this sport.


Keywords:   Development, Agility, Test on the Sand, Beach Handball Players

Article Details

Section
Research Articles