การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและสมรรถนะสำคัญในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 66 คน ได้กลุ่มตัวอย่างมาด้วยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เพื่อแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน, แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายของสำนักงานกองทุนสนันสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแบบประเมินสมรรถนะที่สำคัญของเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยความถี่ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสถิติโดยการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเรื่อง การพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ และสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ประกอบด้วย การระบุปัญหา การแสดงข้อคิดเห็น ประเด็นการเรียนรู้ และแผนดำเนินงานในการแก้โจทย์
- 2. ผลการเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในการทดสอบลุก-นั่ง 1 นาที และวิ่งระยะทาง 1,200 เมตร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนในการทดสอบดัชนีมวลกาย (BMI) ดันพื้น 30 วินาที และนั่งงอตัวไปข้างหน้า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และผลการเปรียบเทียบสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
คำสำคัญ : การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน/สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ/ สมรรถนะ
สำคัญในศตวรรษที่ 21
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์