การสร้างแอปพลิเคชันด้านการประเมินสมรรถภาพทางกายสำหรับครูพลศึกษา A Construction of Physical Fitness Assessment Application for Physical Education Teachers
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างแอปพลิเคชันด้านการประเมินสมรรถภาพทางกายสำหรับครูพลศึกษาและ 2) ศึกษาความพึงพอใจของครูพลศึกษาที่มีต่อแอปพลิเคชันด้านการประเมินสมรรถภาพทางกายสำหรับครูพลศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นครูพลศึกษา จำนวน 30 ท่าน จากโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษา จำนวน 7 โรงเรียนในกรุงเทพมหานคร สถิติพื้นฐาน หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันด้านการประเมินสมรรถภาพทางกายสำหรับครูพลศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ความพึงพอใจความพึงพอใจด้านการใช้งานของครูพลศึกษาที่มีต่อแอปพลิเคชันด้านการประเมินสมรรถภาพทางกายสำหรับครูพลศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นแอปพลิเคชันด้านการประเมินสมรรถภาพทางกายสำหรับครูพลศึกษา ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อครูพลศึกษา ซึ่งเป็นครูพลศึกษาที่สอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 จนถึงระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 โรงเรียนในจังหวัดกรุงเทพมหานครโดยผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว
ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของแอปพลิเคชันด้านการประเมินสมรรถภาพทางกายสำหรับครูพลศึกษาทั้ง 4 ด้าน มีผลการประเมินดังนี้ 1) ด้านเนื้อหา มีคุณภาพอยู่ในระดับดี 2) ด้านการออกแบบหน้าจอมีคุณภาพอยู่ในระดับดี 3) ด้านตัวอักษรและสี มีคุณภาพอยู่ในระดับดี และ 4) ด้านการจัดการและการเชื่อมโยง มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี ผลการประเมินความพึงพอใจของครูพลศึกษาต่อแอปพลิเคชันด้านการประเมินสมรรถภาพทางกายสำหรับครูพลศึกษา ทั้ง 4 ด้าน มีผลการประเมินดังนี้ 1) ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับพึงพอใจมาก 2) ด้านการออกแบบหน้าจอ อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด 3) ด้านตัวอักษรและสี อยู่ในระดับพึงพอใจมาก และ 4) ด้านการจัดการและการเชื่อมโยง อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
คำสำคัญ: การสร้างแอปพลิเคชัน การประเมินสมรรถภาพทางกาย ครูพลศึกษา
Abstract
The objectives of this study are 1) to develop a physical fitness assessment (PFA) application for PE teachers and 2) to study the physical education teachers' satisfaction with using the PFA application. This research uses the PFA application that was developed by the researcher and studies thirty PE teachers from 7 schools in Bangkok metropolitan, including both elementary and secondary schools as the research sample groups. This research uses Average ( ) and Standard Deviation (SD) to study both the quality of the PFA application and PE teachers' satisfaction with using PFA application.
This research studies the quality of the PFA application and the satisfaction of PFA application in 4 aspects, which are content, screen design, font and color, and management and links quality. The results of this research show that 1) the content quality is at "good level" 2) screen design quality is at "good level" 3) font and color quality is at "good level" and 4) management and links quality is at "good level". In addition, the research also shows that the satisfaction level towards using the PFA application is 1) "high level" for content satisfaction, 2) "highest level" for screen design satisfaction, 3) "high level" for font and color satisfaction, and 4) "highest level" for management and links satisfaction.
Keywords: Application Development, Physical Fitness Assessment, Physical Education Teachers
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์