ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพกับกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา Correlation between Health-Related Physical Fitness and Physical Activity in Lower Secondary School Students Mueang District Nakhon Ratchasima Province

Main Article Content

จิรฐิติกาล ชัยประทุม

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพกับกิจกรรมทางกายของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 458 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ  4 รายการ 2) แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่า IOC เท่ากับ 0.98 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.73  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐานและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยวิธีของเพียร์สัน


             ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อการมีสุขภาพดี 1) นักเรียนมีกิจกรรมทางกายในระดับปานกลางและหนักโดยเฉลี่ย 311 ± 194 นาที/สัปดาห์ 2) นักเรียนชายและนักเรียนหญิงส่วนใหญ่มี BMI ในระดับปกติ ความอ่อนตัวส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำ ความแข็งแรงและความอดทนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ความอดทนของระบบหัวใจและไหลเวียนเลือดอยู่ในระดับต่ำมาก 3) กิจกรรมทางกายมีความสัมพันธ์กับระดับความอดทนของระบบหัวใจและการไหลเวียนเลือด และความแข็งแรงและความอดทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01


คำสำคัญ : สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ กิจกรรมทางกาย มัธยมศึกษาตอนต้น


Abstract


             The purpose of this study was to investigate the relationship between health-related physical fitness and physical activity of students. The samples were 458 students who were selected by multi-stage sampling. Research instruments were composed of 1) Four standard health-related physical fitness and 2) Physical activity questionnaire for Junior High School Students which was constructed by the researcher and the IOC validity was 0.98 and reliability was 0.73. Data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and Pearson product-moment correlation coefficient.


               Findings were revealed that 1) The average time spent by students in moderate and vigorous physical activity was 311 ± 194 minutes/week. 2) Most male and female students had normal BMI, poor to average abdominal strength and endurance, poor flexibility and cardiovascular endurance. 3) Strong significant relationship was found between time spent in moderate to vigorous physical activity variables and performance on the PACER and 60s sit-up (p<.01).


Keywords: Health-related Physical Fitness, Physical Activity, Lower Secondary School Students

Article Details

Section
Research Articles