องค์ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาสโมสรกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย โดยการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลฯ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประธานสโมสร ผู้บริหารฝ่ายการตลาดและสิทธิประโยชน์ ผู้บริหารฝ่ายการประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารฝ่ายการเงิน ผู้บริหารฝ่ายการบริหารทรัพยากรบุคคล ผู้จัดการทีม และผู้ฝึกสอน จำนวนทั้งสิ้น 273 คน จากไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก จำนวน 5 สโมสร ทีมจากไทยแลนด์ลีก ดิวิชั่น 1 จำนวน 5 สโมสร และไทยแลนด์ลีก ดิวิชั่น 2 จำนวน 29 สโมสร รวมทั้งสิ้น 39 สโมสร ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลฯ 3 ด้าน ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการสโมสรฟุตบอลฯ ทรัพยากรในการพัฒนาสโมสรฟุตบอลฯ และส่วนประสมทางการตลาด และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เส้นทาง (Path analysis) โดย Mplus Editor
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสมมุติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์ เท่ากับ 105.297 ค่า df เท่ากับ 70 ค่า p เท่ากับ 0.0306 ค่าดัชนี RMSEA มีค่าเท่ากับ 0.012 ตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนและแสดงผลการทดสอบว่า ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อองค์ประกอบที่มีผลต่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลฯ ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการสโมสรฟุตบอลฯ ทรัพยากรในการพัฒนาสโมสรฟุตบอลฯ และส่วนประสมทางการตลาด ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อการพัฒนาสโมสรฟุตบอลฯ ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการสโมสรฟุตบอลฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์