พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ Physical Exercise Behavior of the Elderly in Chiang Mai

Main Article Content

ชนาพร ขันธบุตร

Abstract

บทคัดย่อ


        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ได้มาจาก 25 อำเภอ 204 ตำบล โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน และกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ จำนวน 40 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีความสมัครใจ และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้วิจัยใช้ตารางการกำหนดขนาดของยามาเน่ โดยมีระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ค่าขนาดของผลกระทบที่ 0.35 และค่าการอำนาจของการทดสอบที่ 0.80 และวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุในช่วง 60 – 70 ปี อายุเฉลี่ย 68.29 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพอยู่ด้วยกัน มีสมาชิกที่อยู่ร่วมกันในครอบครัวจำนวน 1 – 3 คน ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรคประจำตัวที่กลุ่มตัวอย่างเป็นมากที่สุดคือความดันโลหิตสูง

  2. การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายอยู่ในระดับมั่นใจมาก

  3. การสนับสนุนทางสังคมในการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนทางสังคมในการออกกำลังกายอยู่ในระดับมาก

  4. พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ทำงานประจำที่มีการใช้แรงงาน โดยใช้ความหนักปานกลาง ส่วนใหญ่ได้ออกกำลังกายมาก เช่น เดิน กายบริหาร ปั่นจักรยาน วิ่ง เต้นแอโรบิค โยคะ และกระโดดเชือก และมีวิธีการออกกำลังกายอื่น ๆ คือ ฟ้อนเจิง รำวงมาตราฐาน  ส่วนใหญ่ใช้เวลาช่วงเช้า ครั้งละ 10 - 20 นาที 3 – 5 วันต่อสัปดาห์ เหตุผลในการออกกำลังกายส่วนใหญ่ คือ ต้องการมีสุขภาพดีมีความแข็งแรง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก สรุปได้ว่า พฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ ผู้สูงอายุมีความมั่นใจมากในการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายดี และได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวมาก และพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้สูงอายุชอบการออกกำลังกายที่หลากหลายและเปลี่ยนกิจกรรมไปเรื่อยๆ มีเสียงเพลงประกอบ ทำให้สนุกสนาน และคลายเครียด

คำสำคัญ: พฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับรู้สมรรถนะแห่งตน  การสนับสนุนทางสังคม ผู้สูงอายุ


Abstract


        This survey research aimed to investigate a physical exercise behavior of the elderly in Chiang Mai. The sample groups were the elderly obtained from 204 sub-districts in 25 districts of Chiang Mai by the multi-stage sampling. They were devided into 400 quantitative samples  and 40 qualitative samples.  In-dept interviewes were conducted on a voluntary basis with the use of Yamane’s Table which has a level of significance at 0.05, effect size at 0.35, and power of the test at 0.80. Data were analyzed through an instant computer program in order to obtain percentage, means, and standard deviation.


 The findings reveal as follows:


  1. There were more female elderly than male counterparts, aged between 60 and 70 years old. An average age was 68.29 years old. Most of them were married and remained coupled. An average number of family members was between one and three persons. The majority finished Grade 4 in Thai primary education. High blood pressure was the most found ailment among them.

  2. The majority were very confident about self-efficacy of their own physical exercise.

  3. Social support for the elderly to do a physical exercise was high.

  4. Physical exercise behaviors frequently practiced with moderate to high intensity were walking, aerobics dancing, cycling, jogging, yoga, and jump roping. Other physical exercises included Fon Choeng, a traditional standard Thai dancing. Most spent 10 to 20 minutes of exercise in the morning and 3-5 days a week. Most of the reasons for doing a regular exercises were to keep them fit and strong.

The qualitative data analysis showed that the elderly in Chiang Mai has strong determination in doing a physical exercise. They have well-rounded self-efficacy of their physical exercise and are very well supported by their families. Their physical exercise behaviors are various and they frequently change their exercise behaviors to suit their preferences, interest, and pleasure.


 Keywords: Physical exercise behavior, Self-efficacy, Social support,  Elderly

Article Details

Section
Research Articles