การใช้ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในการสอนวิชาพลศึกษาของครูพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

วราภรณ์ สมนึก
ณัฐิกา เพ็งลี
วิชาญ มะวิญธร

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในการสอนวิชาพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 71 คน คิดเป็นร้อยละ 88.75 และการสนทนากลุ่มด้วยวิธีการอาสาสมัคร จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 15.49 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
            ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) การจัดการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการร่วมมือ และทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง 2) การจัดการสอนที่ครูพลศึกษาใช้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้แก่ วิธีการตั้งโจทย์ปัญหา ร่วมกันวิเคราะห์ประเด็นปัญหา ร่วมออกแบบรูปแบบการปฏิบัติ และการระดมสมอง การจัดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ได้แก่ เปิดโอกาสให้ซักถาม กิจกรรมกลุ่มที่มีการปรึกษา พูดคุย วางแผนกันในกลุ่ม และมีการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การจัดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการร่วมมือ ได้แก่ การจัดกิจกรรมที่ท้าทายสนุกสนาน ส่งเสริมการยอมรับและคำนึงถึงความแตกต่าง การตั้งเป้าหมายร่วมกัน และการมีน้ำใจช่วยเหลือซึ่งกันและกัน   การจัดการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ การจัดบรรยากาศที่ยืดหยุ่น ให้นักเรียนออกแบบท่าทางการฝึกที่ต่อยอดจากทักษะพื้นฐาน การสร้างสรรค์ผลงานและครูให้การยอมรับและคอยให้คำแนะนำ


คำสำคัญ: ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, การสอนวิชาพลศึกษา, ครูพลศึกษา, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต. (2544). คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับแพทย์ (ปรับปรุง) 2544. กรุงเทพฯ: บริษัท เรดิเอชั่น จำกัด.

พงษ์เอก สุกใส. (2561). ครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 Physical Education Teacher in the 21st Century. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 12(Supplement), 8-12.

วาสนา คุณาอภิสิทธิ์. (2539). การสอนพลศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.

วิภาวี เกียรติอัชฌาลัย. (2542). เปรียบเทียบผลการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีของโรเจอร์สและกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อการพัฒนาอัตมโนทัศน์ของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุมณฑา พรหมบุญ และ อรพรรณ พรสีมา. (2540). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 26(1), 23-24.

Cleland, F. (2011). Impacting learners through enriched physical education environments: A developmental perspective. Active and Healthy Maga- zine, 18(2), 5–13.

Johnson, T. G. (2019). The “Goods of Sport” and Physical Education. Journal of Physical Education, Recreation & Dance, 90(8), 3-5.

Pill, S and B. SueSee. (2017). Including Critical Thinking and Problem Solving in Physical Education. Journal of Physical Education, 88(9), 43-49.

Smith, H. M. (2013). Creative Expression and Physical Education. Journal of Health, Physical Education, Recreation, 33(5), 38-39.