ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี FACTORS ASSOCIATED WITH INTENTION OF ORAL HYGIENE CARE AMONG STUDENTS IN THE INSTITUTE OF PHYSICAL EDUCATION CHONBURI

Main Article Content

พฤษพร เกียรติ์เกริกไกร

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษาในสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี


วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี จำนวน 297 คน


ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างมีปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน ได้แก่ ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง  และการรับรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปาก ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 42.80, ร้อยละ 47.50 และร้อยละ 44.80 ตามลำดับ) มีความตั้งใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก ส่วนใหญ่อยู่ในระดับควรปรับปรุง (ร้อยละ 45.45) ทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการดูแลสุขภาพช่องปาก (p-value < 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


          สรุปผลการวิจัย ปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษาในสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษาในสถาบันการพลศึกษา รวมถึงนักศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาและนักกีฬา และใช้เป็นแนวทางในการเลือกจัดกิจกรรมที่เหมาะสมในการวางแผนส่งเสริมให้มีความตั้งใจในการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีต่อไป


 


Abstract


This was a cross-sectional descriptive study to verify factors associated with intention of oral hygiene care among students in the Institute of Physical Education Chonburi Campus.      


Methods The samples were 297 students in the Institute of Physical Education Chonburi Campus. Research instrument was a questionnaire created by the researchers.


Results: The participants had attitude toward the oral health care behavior, oral health care subjective norm and perceived oral health behavioral control were mainly (42.80%, 47.50% and 44.80% respectively) at moderate level. Majority of participants (45.45%) had poor level of oral health care intention. Attitude toward the oral health care behavior, oral health care subjective norm and perceived oral health behavioral control were significantly correlated with intention of oral health care (p-value < 0.05) at 95% of confidence level.


Conclusion: Most of students in the Institute of Physical Education Chonburi Campus had all 3 factors according to theory of planned behavior at moderate level. They also significantly correlated with intention of oral hygiene care. These research results are expected to provide information to the athlete students and associated-dental health care providers. This could be assured to them for planning appropriate activities to promote intention of oral health care for athlete students.

Article Details

Section
Research Articles