ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนบนเรื้อรัง ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สุดารัตน์ พงศ์ประยูร
อลิสา นิติธรรม

บทคัดย่อ

           การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนบนเรื้อรัง ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในคลินิกแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี โดยใช้แบบแผนการทดลอง แบบทดสอบก่อนและหลังการทดลอง โดยมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม จำนวน 60 คน กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมประกอบด้วยเนื้อหาสาระและกระบวนการของรูปแบบ และแบบสอบถามสำหรับรวบรวมข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมืออยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนการทดลองและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที (Dependent-Samples
t-test, Independent-Samples t-test) 


       ผลการศึกษาพบว่า


  1. ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนบนเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความคาดหวังผลดีในการมีพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนบนเรื้อรัง และการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนบนเรื้อรังดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับอาการปวดหลังส่วนบนเรื้อรัง การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความคาดหวังผลดีในการมีพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนบนเรื้อรัง และการปฏิบัติพฤติกรรมเพื่อลดอาการปวดหลังส่วนบนเรื้อรัง ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2556). สธ.หนุนคนไทยใช้ท่าฤาษีดัดตน 15 ท่า ออกกำลังกายสรรพคุณเพียบ ต่อต้านโรค มีอายุยืน. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561, จาก https://www.dtam.moph.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=282:pr0142&catid=8&Itemid=114&lang=th

กัลยาพร เติมนาค. (2559). ผลของการใช้แนวคิดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพกับการบริหารร่างกายแบบฤๅษีดัดตนในกลุ่มปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนเรื้อรัง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). นครปฐม: สาขาวิชาสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ, มหาวิทยาลัยมหิดล.

กาญจนา นิ่มตรง. (2555). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและอาการปวดของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 6(2), 99-109.

นิธิตา ธารีเพียร. (2552). การประยุกต์ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมต่อการป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่างของผู้ประกอบอาชีพทำอิฐมอญ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). นครปฐม: สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช. (2542). กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ลิขิต รักพลเมือง. (2554). ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังจากการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.si.mahidol.ac.th/th/tvdetail.asp?tv_id=278.

วรรณวิมล เมฆวิมล กิ่งแก้ว. (2559). การศึกษาเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากอาการปวดกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อพังผืด. วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(1), 12-29.

สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. (2552). แนวทางปฏิบัติกลุ่มอาการปวดเรื้อรังระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ. กรุงเทพฯ: บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุชาดา บูรณัสถาพร. (2556). การประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการบาดเจ็บกล้ามเนื้อหลัง จากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยโภชนาการในโรงพยาบาล. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 91-100.

สำนักงานเกษตรจังหวัดปทุมธานี กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). ข้อมูลพื้นฐานด้านการเกษตรจังหวัดปทุมธานีปี 2559/60. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561, จากhttp://www.pathumthani.doae.go.th/Agriculture%20data.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). จำนวนผู้ป่วยนอก โรคระบบกล้ามเนื้อ รวมโครงร่าง และกล้ามเนื้อยึดเสริม ทั่วราชอาณาจักรจากสถานบริการสาธารณสุข ของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2550– 2557. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2561, สืบจากhttp://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries09. html

อุษณีย์ ฟองศรี. (2553). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถตนเองเพื่อป้องกันอาการปวดหลังส่วนล่าง ของพนักงานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โรงพยาบาลศิริราช (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข, มหาวิทยาลัยมหิดล