ความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไกของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล) จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สวรส ผลชู
กรรวี บุญชัย
ภานุ ศรีวิสุทธิ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไกของนักเรียนชายและนักเรียนหญิงระหว่างชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล) จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไกระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, 2 และ 3 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล) จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้แบบทดสอบความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไก Lowa-Brace Test ประกอบไปด้วยข้อทดสอบจำนวน 21 รายการ ค่าความเชื่อถือได้ (Reliability) ของการทดสอบความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไก เท่ากับ 0.89 อยู่ในเกณฑ์ดี กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 155 คน เป็นนักเรียนชายจำนวน 73 คนและนักเรียนหญิงจำนวน 82 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 168 คน เป็นนักเรียนชายจำนวน 79 คนและนักเรียนหญิงจำนวน 89 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 155 คน เป็นนักเรียนชายจำนวน 79 คนและนักเรียนหญิงจำนวน 76 คน ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนหัวไทร (เรือนประชาบาล) จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี LSD


       ผลวิจัยพบว่า


  1. ความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดีกว่านักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ดีกว่านักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไกของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ดีกว่านักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  4. ความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไกของนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ดีกว่านักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  5. ความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไกของนักเรียนชายชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ดีกว่านักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  6. ความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไกระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  7. ความสามารถในการเรียนรู้ทางกลไกระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรรวี บุญชัย. (2555). การวัดเพื่อการประเมินผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรรวี บุญชัย. (2560). เอกสารประกอบการเรียนวิชา กศ 0146012 สถิติประยุกต์ทางการศึกษา. กระบี่: สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตกระบี่

กรรวี บุญชัย. (2562). เอกสารประกอบการเรียนวิชาการวัดและประเมินผลทางพลศึกษาขั้นสูง (01172533). กรุงเทพฯ: ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. (2543). ทักษะและเทคนิคการสอนพลศึกษาในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์. (2554). สร้างเด็กไทยให้เต็มศักยภาพด้วยการออกกำลังกาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิริยา บุญชัย. (2529). การทดสอบและการวัดผลทางพลศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สุริยัน สุวรรณกาล. (2560). การใช้กิจกรรมทางกายเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ทางกายสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Mathews, D. K. (1978). Measurement in physical education (5th ed.) Philadelphia, PA: W. B. Saunders.