ศึกษาการรับรู้ด้านคุณภาพบริการของสถานกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

Main Article Content

apinya srimahaprom
apinya srimahaprom

Abstract

บทคัดย่อ


            งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้ของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบริการของสถานกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการสถานกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามคุณภาพบริการสถานกีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยประยุกต์หลักการของ SERVQUAL (Parasuraman et al., 1988) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีการจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น Priority Needs Index


            ผลการวิจัย พบว่า เมื่อเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นที่ต้องการปรับปรุงเรียงจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ด้านการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก (PNI = 0.247) ด้านการส่งเสริมกิจกรรม
การออกกำลังกายและกีฬา (PNI = 0.189) ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสถานที่ออกกำลังกาย อุปกรณ์และพื้นที่อำนวยความสะดวก (PNI = 0.123) ด้านราคาและกิจกรรมที่ได้รับ (PNI = 0.107) ด้านความเชื่อถือ/ ความไว้วางใจในการจัดระบบการจัดการสถานที่ออกกำลังกาย (PNI = 0.103) ด้านความเชื่อมั่นในความสามารถและการให้บริการของเจ้าหน้าที่ (PNI = 0.100) และด้านความมีอัธยาศัยไมตรีและพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ประจำสนาม (PNI = 0.069) ตามลำดับ


 


คำสำคัญ: ความต้องการจำเป็น/ คุณภาพบริการ/ สถานกีฬาและสุขภาพ


 


 


 


 


Abstract


            The aims of the research were to survey the service quality of Sports and Health Center, Suranaree University of Technology. The samples were 348 customers of the center. Instrument of the research applying the principles of SERVQUAL (Parasuraman) et al., 1988). Data were analyzed in percentage, mean standard deviation and Modified Priority Need Index


The research result revealed that: The research result revealed that: The customers needed improvement the quality from the most to the least were as 1) providing more facilities and equipment (PNI = 0.247); 2) the promotion of activities (PNI = 0.189); 3) the physical environment of fitness equipment (PNI = 0.123); 4) the adjusting the membership and activity fee (PNI = 0.107); 5) the reliability on the management process (PNI = 0.103); 6) the respects on the ability and service of staffs (PNI = 0.100); 7) the empathy and service mind of staffs (PNI = 0.069).


 


Keywords: Priority needs/ service quality/ Sports and Health Center

Article Details

Section
Research Articles