ผลของการฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก แบบแอโรบิกและแบบผสมผสานที่มีต่อตัวแปรเชิงแอนแอโรบิก แอโรบิกและความสามารถในการวิ่งระยะทาง 400 เมตร (EFFECTS OF ANAEROBIC, AEROBIC AND COMBINATION INTERVAL TRAINING ON ANAEROBIC, AEROBIC PARAMETERS AND 400 METERS RUNNING PERFORMANCE)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก แบบแอโรบิก และแบบผสมผสาน ในระยะเวลาการฝึก8 สัปดาห์ ที่มีต่อตัวแปรความสามารถสูงสุดในการนำเอาออกซิเจนไปใช้ แอนแอโรบิกเทรชโฮล สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก กรดแลคติกในเลือด และความสามารถในการวิ่งระยะทาง 400 เมตร และเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปรดังกล่าว ก่อนการฝึก ระหว่างการฝึกและหลังการฝึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย อายุ 15 ปี ของโรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ลำพูน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 10 คน กลุ่มที่ 1 ฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก กลุ่มที่ 2 ฝึกอินเทอร์วาลแบบแอโรบิก และกลุ่มที่ 3 ฝึกอินเทอร์วาลแบบผสมผสาน แล้วนำผลการทดสอบที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (ANOVA with Repeated Measures)นัยสำคัญทางสถิติถูกกำหนดไว้ที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถสูงสุดในการนำเอาออกซิเจนไปใช้ทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือกลุ่มที่ 1จาก34.170 ± 6.062 เป็น 36.900 ± 6.772มล./ กก./ นาที, กลุ่มที่ 2จาก35.100 ± 7.314 เป็น 39.040 ± 6.871มล./ กก./ นาที และกลุ่มที่ 3จาก34.210 ± 5.956 เป็น 39.580 ± 6.245มล./ กก./ นาที, จุดที่ถือเป็นแอนแอโรบิกเทรชโฮลทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือกลุ่มที่ 1จาก9.000 ± 1.000 เป็น 10.550 ± 0.896กม./ ชม., กลุ่มที่ 2จาก9.300 ± 1.206 เป็น 11.100 ± 0.966กม./ ชม. และกลุ่มที่3จาก9.350 ± 1.107 เป็น 10.950 ± 0.956กม./ ชม., สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก ได้แก่พลังสูงสุดแบบแอนแอโรบิก ทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือกลุ่มที่ 1จาก9.998 ± 0.544เป็น 10.509 ± 0.571วัตต์/ กก.,กลุ่มที่ 2จาก9.823 ± 0.998 เป็น 10.288 ± 0.788วัตต์/ กก.และกลุ่มที่ 3จาก10.267 ± 0.972 เป็น 10.900 ± 0.892วัตต์/ กก., ความสามารถในการยืนระยะแบบแอนแอโรบิก ทั้ง 3 กลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือกลุ่มที่ 1จาก7.636 ± 0.433 เป็น 7.943 ± 0.454วัตต์/ กก., กลุ่มที่ 2จาก7.326 ± 0.709 เป็น 7.602 ± 0.898วัตต์/ กก. และกลุ่มที่ 3จาก7.673 ± 0.554 เป็น 8.006 ± 0.517วัตต์/ กก., กรดแลคติกในเลือดในกลุ่มที่ 2 มีเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (ลดลง) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพียงกลุ่มเดียว คือจาก 12.390 ± 2.939 เป็น 10.900 ± 2.495มิลลิโมล/ ลิตร,ความสามารถในการวิ่งระยะทาง 400 เมตรทั้ง3 กลุ่มมีการพัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือกลุ่มที่ 1จาก83.610 ± 9.356เป็น 75.945 ± 7.707วินาที, กลุ่มที่ 2จาก82.079 ± 8.856 เป็น 74.574 ± 5.148วินาที และกลุ่มที่ 3จาก83.308 ± 9.501 เป็น 76.149 ± 8.904วินาที
จากข้อมูลที่ปรากฏ ทำให้สามารถสรุปได้ว่า วิธีการฝึกทั้ง3 แบบส่งผลดีไม่ต่างกัน ในการพัฒนาความสามารถสูงสุดในการนำเอาออกซิเจนไปใช้ สมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก และความสามารถในการวิ่งระยะทาง 400 เมตร อย่างไรก็ดีการฝึกอินเทอร์วาลแบบแอโรบิก ช่วยลดปริมาณกรดแลคติกในเลือดได้ดีกว่าวิธีการฝึกอินเทอร์วาลแบบแอนแอโรบิก และการฝึกอินเทอร์วาลแบบผสมผสาน
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์