ผลของการเลือกฟังเพลงขณะวิ่งบนลู่กลที่ระดับความหนักต่าง ๆ ต่ออัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการรับรู้ความเหนื่อย และระยะเวลาการออกกำลังกาย (THE EFFECT OF MUSIC SELECTING DURING RUNNING ON TREADMILL AT VARIOUS INTENSITY ON HEART RATE, RATING PERCEIVED EXERTION AND EXERCISE TIME)
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการเลือกฟังเพลงที่ระดับความหนักต่าง ๆ ต่ออัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการรับรู้ความเหนื่อย กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตเพศชายสุขภาพดี อายุ 19-20 ปี จำนวน 15 คน จากคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างจะต้องออกกำลังกายโดยการวิ่งบนลู่กล เป็นเวลา 15 นาที (60% VO2max เป็นเวลา 7 นาที 70% VO2max เป็นเวลา 5 นาที และ80% VO2max เป็นเวลา 3 นาที) จากนั้นจะวิ่งที่ระดับความหนักสูงสุดโดยเพิ่มความชัน 2% ทุกนาที จนไม่สามารถวิ่งต่อไปได้ โดยจะกำหนดให้กลุ่มตัวอย่างจะต้องฟังเพลงในขณะวิ่งบนลู่กล โดยแบ่งการทดลองออกเป็น 3 รูปแบบ คือ ให้ฟังเพลงเร็วที่ผู้วิจัยกำหนดให้ ให้ฟังเพลงเร็วที่กลุ่มตัวอย่างเลือกเอง และการวิ่งปกติโดยไม่ได้ฟังเพลง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้ง 15 คน จะทดลองทำซ้ำทั้ง 3 รูปแบบ ระยะเวลาการทดลองแต่ละแต่ละรูปแบบห่าง 1 สัปดาห์ นำอัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการรับรู้ความเหนื่อยขณะวิ่งที่ระดับความหนักต่าง ๆ และระยะเวลาที่ใช้ในการวิ่งทั้งหมด ไปวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำมิติเดียว (One-way analysis of Variance with repeated measure) กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ที่ระดับความหนัก 60% VO2max 70% VO2max และ80% VO2max การวิ่งบนลู่กลควบคู่กับการฟังเพลงที่กำหนดให้ และการการฟังเพลงที่เลือกเอง มีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่าการวิ่งโดยไม่ได้ฟังเพลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และที่ระดับความสามารถสูงสุด การวิ่งบนลู่กลควบคู่กับการฟังเพลงที่กำหนดให้ และการการฟังเพลงที่เลือกเอง ส่งผลให้ระยะเวลาในการวิ่งใช้เวลานานกว่าการวิ่งโดยไม่ได้ฟังเพลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นการฟังเพลงขณะวิ่งบนลู่กล อาจจะส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจให้เพิ่มสูงขึ้น แต่สามารถที่จะเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกายให้นานขึ้นได้
คำสำคัญ: การฟังเพลง อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการรับรู้ความเหนื่อย และระยะเวลาการออกกำลังกาย
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ.นครปฐม 73140
Faculty of Sports Science, Kasetsart University, Kamphaeng Saen, Nakhon Pathom, 73140,
* Corresponding author: E-mail address: niromlee.m@ku.th
Abstract
The purposes of this study were to study and compare the effect of music selecting during running on treadmill at various intensity on heart rate, rating perceived exertion and exercise time. Fifteen healthy male (19-20 years old) who were studies at faculty of sports science, Kasetsart university participated in this study. All subjects wererunning on treadmill 15 minutes (7 minute at 60%VO2max, 5 minute at 70%VO2max and 3 minute at 80%VO2max) and the inclinations of treadmill were increase 2% every minute until exhaustion. Each subject participated in three experimental trials on three different days (with a one-week interval). Across three trials, the treadmill test was performed with subjects listening to favorite fast tempo music, fast tempo music with selected by researchers and no listening music (control condition). A balanced crossover design was used to assign the order in which the subjects experienced the listening music treatments across their three trials. Heart rate, rating perceived exertion and exercise time were measure. Data were statistically analyzed using mean, standard deviation and One-way ANOVA with Repeated measured at p < 0.05.
The result showed that at submaximal exercise (60%VO2max, 70%VO2max และ80%VO2max), Heart rate of listening to favorite fast tempo music and fast tempo music with selected trial were higher (p<0.05) than no listening music trial. At maximal exercise intensity, exercise time of listening to favorite fast tempo and fast tempo music with selected trial were longer (p<0.05) than no listening music trial. Therefore, these results suggest listening to fast tempo music that selected favorite and no favorite may increasing heat rate and be beneficial for increasing exercise time.
Key words: Listening music, Heart rate, rating perceived exertion and exercise time
Article Details
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์