แนวทางในการส่งเสริมนักกีฬายูยิตสูไทยสู่ความเป็นเลิศ (GUIDELINES FOR THE ENHANCE THAI JU-JITSU ATHLETES FOR EXCELLENCE)

Main Article Content

กฤษณะ บุญประสิทธิ์

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมนักกีฬายูยิตสูไทยสู่ความเป็นเลิศ และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมนักกีฬายูยิตสูไทยสู่ความเป็นเลิศ ตามผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมนักกีฬายูยิตสูไทยสู่ความเป็นเลิศ  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในกีฬายูยิตสู กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 278 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่า IOC ตั้งแต่ .50 ทุกข้อ และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .98 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  นำผลการวิจัยที่ได้มาจัดทำเป็นแนวทางในการส่งเสริมนักกีฬายูยิตสูไทยสู่ความเป็นเลิศ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


1. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมนักกีฬายูยิตสูไทยสู่ความเป็นเลิศ โดยเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI modified) พบว่า ในภาพรวมความต้องการที่สำคัญมากที่สุด คือ ด้านสวัสดิการ ด้านสถานที่และอุปกรณ์การฝึกซ้อม ด้านงบประมาณ และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา ตามลำดับ


2. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความต้องการที่คาดหวังมากกว่าสภาพที่ปรากฏจริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


3. แนวทางการส่งเสริมนักกีฬายูยิตสูไทยสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 9 ด้าน 67 แนวทาง ได้แก่ 1) ด้านบุคลากรกีฬา มี 12 แนวทาง 2) ด้านงบประมาณ มี 6 แนวทาง 3) ด้านสถานที่และอุปกรณ์ในการฝึกซ้อม มี 7 แนวทาง 4) ด้านการบริหารจัดการ มี 6 แนวทาง 5) ด้านการจัดการแข่งขัน มี 8 แนวทาง 6) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มี 8 แนวทาง 7) ด้านการมีส่วนร่วมปลุกกระแสค่านิยม มี 6 แนวทาง 8) ด้านองค์กรที่มีส่วนรับผิดชอบ มี 5 แนวทาง และ 9) ด้านสวัสดิการ มี 9 แนวทาง


คำสำคัญ: แนวทาง การส่งเสริม ยูยิตสู ความเป็นเลิศ


Abstract


The purposes of this study were 1) to study the need assessment to enhance Thai Ju-Jitsu Athletes for excellence 2) to develop guidelines for Thai Ju-Jitsu Athletes for excellence according to needs assessment study results. The samples were stakeholders in Thai Ju-Jitsu by simple random sampling from the table of Krejcie & Morgan 278 samples. The questionnaire with at least 0.50 IOC and 0.98 Cronbach’s alpha coefficient of reliability was used in collecting data. The data were analyzed by descriptive statistic and t-test with 0.05 level of statistically significance. Results were as follow


1. The needs assessment to enhance Thai Ju-Jitsu Athletes for excellence of stakeholder and PNI modified showed that the most important requirement were welfare, sport stadium and sport equipment, the budget, and sports science and technology respectively.


2. The comparison of the observes condition and the expected condition showed that the expected needs were higher than the observed conditions at 0.05 level of statistically significance


3. The guidelines for the enhance Thai Ju-Jitsu athletes for excellence comprised of 9 dimensions with 67 guidelines as 1) 12 guidelines in sport personnel management 2) 6 guidelines in financial management 3) 7 guidelines in training facilities and venues 4) 6 guidelines in sport management 5) 8 guidelines in sports competition 6) 8 guidelines in sports science and technology 7) 6 guidelines in participation in sport value 8) 5 guidelines in responsible organizations 9) 9 guidelines in welfare.


Keywords: Guidelines Enhance Ju-Jitsu Excellence

Article Details

Section
Research Articles