ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ของนักกีฬายิงปืนที่เข้าร่วมการแข่งขัน กีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลตามสถานการณ์ระหว่างนักกีฬายิงปืนชายและหญิง ที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43 ประชากรเป็นนักกีฬายิงปืนที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 43 จำนวน 102 คน เป็นเพศชายจำนวน 56 คน และเพศหญิงจำนวน 46 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบความวิตกกังวลตามสถานการณ์ฉบับปรับปรุงใหม่ (Revised Competitive State Anxiety Inventory – 2 (CSAI – 2R) (Cox; Martens; & Russell. 2003) มีค่าความเที่ยงตรง (Validity) เท่ากับ 0.75 ประกอบด้วย ความวิตกกังวลทางกาย ความวิตกกังวลทางจิตและความเชื่อมั่นในตนเอง ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (μ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ระหว่างนักกีฬาชายกับนักกีฬาหญิงในรอบคัดเลือกก่อนการแข่งขัน 3 วัน และก่อนการแข่งขัน 1 วัน และรอบชิงชนะเลิศก่อนการแข่งขัน 1 ชั่วโมง สถิติ T-Test Independent เพื่อทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า
- ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ในรอบคัดเลือกก่อนการแข่งขัน 3 วัน ของนักกีฬายิงปืนชายและนักกีฬาหญิง ด้านความวิตกกังวลทางกาย ด้านความวิตกกังวลทางจิต และด้านความเชื่อมั่นในตัวเองอยู่ในระดับปานกลาง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
- ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ในรอบคัดเลือกก่อนการแข่งขัน 1 วัน ของนักกีฬายิงปืนชายและนักกีฬาหญิง ด้านความวิตกกังวลทางกาย ด้านความวิตกกังวลทางจิต และด้านความเชื่อมั่นในตัวเองอยู่ ในระดับปานกลาง ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
- ความวิตกกังวลตามสถานการณ์ในรอบชิงชนะเลิศก่อนการแข่งขัน 1 ชั่วโมง ของนักกีฬายิงปืนชายและนักกีฬาหญิง มีความวิตกกังวลทางกายในระดับปานกลาง โดยไม่มีความแตกต่างทางสถิติส่วนความเชื่อมั่นในตนเองอยู่ในระดับสูง และไม่มีความแตกต่างทางสถิติ ส่วนความวิตกกังวลตามสถานการณ์ด้านความวิตกกังวลทางจิต ของนักกีฬายิงปืนชายและนักกีฬาหญิง อยู่ในระดับสูง โดยมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
นภพร ทัศนัยนา .(2536). ปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อความสำเร็จในการแข่งขันกีฬา. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาพลศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี อยู่ศิริ. 2542. ความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลอันเป็นลักษณะนิสัยและเจตคติที่เกี่ยวข้องกับ งานและตนเองที่มีต่อการเล่นกีฬาของนักกีฬามหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ. ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต สาขาพลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชิต เมืองนาโพธิ์. (2534). เอกสารประกอบการสอนจิตวิทยาการกีฬา. กรุงเทพฯ: คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมบัติ กาญจนกิจ. บทบาทและรูปแบบสันทนาการปัจจุบันสู่อนาคต. วารสารสุขศึกษาพลศึกษาและสันทนาการ. เมษายน – มิถุนายน ; 15 (2), 2532.
สมบัติ กาญจนกิจและ สมหญิง จันทรุไทย. จิตวิทยาการกีฬา แนวคิด ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
สืบสาย บุญวีรบุตร. จิตวิทยาการกีฬา. ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์, 2541.
สุพัชรินทร์ กลมเกลี้ยง. ความวิตกกังวลและความเครียดทางการกีฬา. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 หน้า 65-78, 2550.
สุพัชรินทร์ ปานอุทัย. ความเข้มและทิศทางของความวิตกกังวลของนักกีฬาก่อนการแข่งขัน. วารสารวิทยาสารกำแพงแสน ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 หน้า 31-32 , 2553.
Abenza, L., et al. (2009). Relationship Between The Anxiety and Prformance of a Basketball Team During Competition. Revista de Psicología del Deporte 2009, Vol.18 –suppl,. pp. 409-413 – ISSN: 1132-239X.
Bali . Psychological Factors Affecting Sports Performance. International Journal of Physical Education, Sports and Health 2015; 1(6): 92-95.
BUTT, Bei HU, Khurram SHAFI, Babur Hayat MALIK. Study of Organizational Environment, Incentives and Promotion and its Effect on Employee`s Motivation.
Cox, R. H. (2007). Sport Psychology, concepts and applications (6th ed.). New York: McGrawHill.
Marten use of habitat in a commercially clear-cut forest. J. Wildl. Manage. 46(1): 175-182.
Yuri L. Hanin. (1970). Emotions in Sport: Current Issues and Perspectives. KIHU-Research Institute for Olympic Sports, Finland.
Klavoras, P. (1977). An attempt to drive inverted – U curve based on the relationship between anxiety and athletic performance.
D.M. Landers and R.W. Christina (eds.). Psychology of motor behavior and sport. Champaign, IL: Human Kinetics Publishers.
Martens, R. and D.L. Gill. (1976). “State Anxiety among Successful Competitors Who Differ in Competitive Trait Anxiety”. Research Quarterly, 47 : 698 – 708.
---------. (1977). Sport Competition Anxiety Test. Champaign,IL : Human Kineticy.
--------- (1987). “Science, Knowledge and Sport Psychology”. Sport Psychologist, 1: 29 – 55.
Parnabas, et al. (2013). The Relationship between Cognitive and Somatic Anxiety on Performance of Student-Athletes of Universiti Malaysia Perlis (UNIMAP). http://www.hrpub.org
Rice, A. J. (2016). Social class and masculinity. In Y. J. Wong, S. R. Wester (Eds.), APA handbook of men and masculinities (pp. 1344). Washington.
Rainay, D. W. and Cunningham it. (1988). Consentitive Trait Anxiety in Male and Female Collage Athletes. Research Qaurterly Foe Exercise and Sport.