ผลการฝึกแบบผสมผสานที่มีผลต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว ในนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง Effects of Complex Training on Speed and Agility of Women’s Handball Players of Institute of Physical Education, Lampang Campus

Main Article Content

Atithep Wichan

Abstract

บทคัดย่อ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกแบบผสมผสานที่มีผลต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาแฮนด์บอลหญิงสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง ประชากรคือนักกีฬาแฮนด์บอลสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา“พลศึกษาเกมส์”ครั้งที่ 44 จำนวน 20 คนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมการฝึกแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยกลุ่มควบคุมฝึกซ้อมโดยใช้โปรแกรมฝึกซ้อมกีฬาแฮนด์บอล และกลุ่มทดลองฝึกซ้อมโดยใช้โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานควบคู่กับโปรแกรมฝึกซ้อมกีฬาแฮนด์บอล เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทดสอบสมรรถภาพด้านความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไว ก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่  4 และสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way Analysis of Variance with Repeated Measures) เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยการทดสอบค่า“ที” (Independent T-test) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


          ผลการวิจัยพบว่า นักกีฬาแฮนด์บอลหญิงกลุ่มทดลองหลังการฝึกโปรแกรมแบบผสมผสานสัปดาห์ที่ 4และสัปดาห์ที่ 8 มีความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวของดีขึ้นกว่าก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ.05เมื่อเปรียบเทียบความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาแฮนด์บอลหญิง ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองพบว่าภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


คำสำคัญ : ฝึกแบบผสมผสาน, ความเร็ว, ความคล่องแคล่วว่องไว, นักกีฬาแฮนด์บอลหญิง


Abstract


               The purpose of this research was aimed to examine and compare the impact of complex training on speed and agility performance in women handball athletes at Lampang Institute of Physical Education. The sample included a total of twenty (20) handball players from the Lampang Institute of Physical Education who participated in the 44th Physical Education Games. Matching techniques were used. The players were divided into two (2) groups: The Control and Experimental Groups, each group of 10 subjects. The research instrument was a complex training program. Data collection was conducted. The control group was given only a handball training program. The Experimental Group was given both the complex and handball training programs. The period of the training program was eight (8) weeks. The players' performance in speed and agility pre and post-training in the 4th week and 8th week were tested. Data analysis was performed using mean (µ) and standard deviation (S.D.) and One-Way Analysis of variance with repeated measures. Analyze the difference by pairs and groups using Independent T-test with the statistical significance level of 0.05.


               The researcher found that after complex training in the 4th and 8th weeks, the experimental group showed improvement better than before, both in speed and agility significantly at 0.05. When compared between the control group and the experimental group after the 4th week and 8th, the experimental group showed improvement both in speed and agility better than the control group significantly at level 0.05.


keywords: Complex Training, Speed, Agility, Women Handball Athletes

Article Details

Section
Research Articles