ผลของการฝึกด้วยลูกบอลออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวและการทำงานของกล้ามเนื้อในนักกีฬายิงธนู The Effects of Exercise Ball Training on Balance and Muscle Function in Archers
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยลูกบอลออกกำลังกายที่มีต่อการทรงตัวและการทำงานของกล้ามเนื้อของนักกีฬายิงธนู กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬายิงธนู เพศชาย จำนวน 24 คน อายุระหว่าง 18 - 23 ปี ทำการเลือกแบบเจาะจง จากนักกีฬายิงธนูของศูนย์กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตลำปาง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 12 คน กลุ่มควบคุมฝึกตามโปรแกรมปกติและกลุ่มทดลองฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการทรงตัว 3 วัน ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ทดสอบความสามารถในการทรงตัวและหาค่าร้อยละการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด (% Maximum Voluntary Contraction : % MVC) ของกล้ามเนื้อ Rectus Abdominis, External Abdominal Oblique, Erector Spinae และ Rectus Femoris ก่อนการฝึก ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีการทรงตัวดีขึ้น ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบก่อนการฝึกและเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<.05) การหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด กลุ่มทดลอง กล้ามเนื้อ Erector Spinae ข้างซ้ายและขวา Rectus Femoris ข้างซ้าย เพิ่มขึ้น ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 เมื่อเปรียบเทียบก่อนการฝึกและเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<.05) และกล้ามเนื้อทั้ง 4 มัด การหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด เพิ่มขึ้น ภายหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 เมื่อเปรียบเทียบก่อนการฝึกและเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<.05)
สรุปได้ว่าการฝึกด้วยลูกบอลออกกำลังกาย สามารถจะพัฒนาการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องในการยิงธนู ซึ่งเห็นได้ว่ากล้ามเนื้อจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นหลังจากการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ดังนั้นโปรแกรมการฝึกด้วยลูกบอลออกกำลังกายที่ผู้วิจัยออกแบบในการวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการทรงตัวและความแข็งแรงกล้ามเนื้อของนักกีฬายิงธนูได้
คำสำคัญ : ลูกบอลออกกำลังกาย, การทรงตัว, การทำงานของกล้ามเนื้อ, นักกีฬายิงธนู
Abstract
The objective of this research was aimed to examine the effect of exercise ball training on balance and muscle function in the archers. The sample included a total of twenty-four male archers, aged between 18 - 23 years. Purposive Sampling was adopted to select the sample from the archers of the Lampang Center for Sports Excellence, the Institute of Physical Education Lampang Campus. The sample was divided into 2 groups, each group of 12 subjects. The control group was given a normal training program and the experimental group was given a training program for muscle strength and balance. The training session was 3 days weekly for a length of 8 weeks. Balance testing was undergone to determine the percent Maximum Voluntary Contraction (%MVC) of the Rectus abdominis, External abdominal oblique, Erector spinae, and Rectus femoris pre-training, post-training week 4 and week 8. The Repeated Measure ANOVA was conducted at the significance level of .05.
The results demonstrated that the experimental group had improved balance post-training week 4 and week 8, respectively, compared to pre-training and compared to the control group (p<.05). MVC on left and right Erector spinae and left Rectus femoris increased after training week 4 in the experimental group, compared to pre-training and compared to the control group (p<.05) and MVC on four bundles of muscles increased after the training week 8, compared to pre-training and compared to the control group (p<.05).
In conclusion, the exercise ball training can improve balance and relevant muscle functions in the archers. The muscle strength was evidently improved after training in week 4. Therefore, the researchers-designed exercise ball training program can be used to improve balance and muscle strength in the archers.
Keywords: Exercise Ball, Balance, Muscle Function, Archers
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์