การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสะเต็มศึกษาเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคเครื่องสำอางอย่างปลอดภัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย Learning Management by STEM Education for Promoting Safety Cosmetics Consumption Behaviors of High School Students

Main Article Content

Nitida Plaikaew

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการบริโภคเครื่องสำอางอย่างปลอดภัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง จำนวน  2 ห้อง ทำการสุ่มตัวอย่างได้นักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 35 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 30 คน กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสะเต็มศึกษา สัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมการอภิปราย สถานการณ์จำลอง กรณีศึกษา กิจกรรมกลุ่ม ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนในรูปแบบปกติตามที่โรงเรียนจัดให้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบวัดพฤติกรรมการบริโคเครื่องสำอางอย่างปลอดภัย ทำการหาคุณภาพเครื่องมือ โดยการหาค่าความเที่ยงตรงและค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคเครื่องสำอางปลอดภัย ได้ความเที่ยงตรง 0.66-1.00 และความเชื่อมั่น .74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที (T-Test) ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสะเต็มศึกษามีประสิทธิผลทำให้กลุ่มทดลองเกิดการเปลี่ยนแปลงคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการบริโภคเครื่องสำอางปลอดภัย สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05


คำสำคัญ : สะเต็มศึกษา, พฤติกรรมการบริโภค, ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปลอดภัย


Abstract


            This research was quasi-experimental research aimed to study Learning Management by STEM Education for the promoting consumption of Cosmetics Safety by High School Students. The study samples were two classes of Mathayom Suksa 5 students. There were 35 and 30 students in the experimental and comparison groups respectively. The experimental group participated in STEM Education for the promoting consumption of cosmetics once a week for 3 weeks, consisting of the activity, the discussion, simulations, case studies, and activity group. The comparison group participated in the regular health education class provided by the school. The questionnaires were tested for validity and reliability. There were 0.66-1.00 for validity and .74 for reliability. Data analysis was made for percentage, mean, standard deviation and t-test. The results of the study showed that the promoting consumption of cosmetics scores of the experiment group was higher than the comparison group at .05 significant level by using Learning Management by STEM Education.


Keywords: STEM Education, Consumption Behaviors, Safety Cosmetics

Article Details

Section
Research Articles