ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุข 29 ช่วง นุชเนตร กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 309 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบค่า Chi-square และ Pearson Product Moment Correlation
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยทางชีวสังคม ได้แก่ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลตนเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ความสะดวกในการมาศูนย์บริการสาธารณสุข ความรวดเร็วในการให้บริการ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยเสริม ได้แก่ การสนับสนุนจากครอบครัว ชุมชน และบุคลากรสาธารณสุข การได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคเบาหวาน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์
References
กฤษณา คําลอยฟ้า.(2554).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลแก้งสนามนาง อําเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 17(1) ,17-30.
คำรณ มุทะสิน. (2557).พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ชลลดา ไชยกุลวัฒนา,วิชานีย์ ใจมาลัย และประกายดาว สุทธิ.(2559). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน จังหวัพะเยา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34 (4),115-122.
ประชุมพร กวีกรณ์.(2559) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเลิงนกทา.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น,4 (3),308-324.
ประภาพร จอมเทพ. (2558). "การพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานเพื่อป้องกันภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา จังหวัดระนอง". วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 29(1), 551-556.
ปรารถนา วัชรานุรักษ์และ อัจฉรา กลับกลาย. (2560). "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดสงขลา". วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4(1), 217-233.
เพชร รอดอารีย์. (2558). คนไทยเป็นเบาหวานเพิ่ม กว่าครึ่งไม่รู้ตัว. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ". สืบค้นเมื่อ กุมภาพันธ์ 2, 2561, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/29991.html
วนิดา ส่างหญ้านาง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิชัย เอกพลากร. "สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย". วารสารเบาหวาน, 49 (1), (7-14).
ศิริวรรณ อินทรวิเชียรคชา.(2555).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุปรียา เสียงดัง.(2560).พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4 (1) ,191-204.
อมรา ทองหงษ์. (2558). โรคเบาหวาน สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2558. In อ. กาญจนพิบูลวงค์ (Ed.), (pp. 214-215). กรุงเทพมหานคร.
เอกภพ จันทร์สุคนธ์, วิภาดา ศรีเจริญ และกิ่งแก้ว สำรวยรื่น.(2560).ปัจจัยพยากรณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11 (3), 229-239.
Chua J, Lim Cxy, & Ty Wong. (2018). Diabetic Retinopathy in the Asia-Pacific. pubmed, 7(1), 3-16.
Klein BE. Overview of epidemiologic studies of diabetic retinopathy. Ophthalmic epidemiology 2007; 14: 179–83.