การเปรียบเทียบรูปแบบการฟื้นตัวหลังการออกกำลังกายในช่วงเวลาพักที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจในนักกีฬาฟุตซอล A Comparison of Recovery Method During Resting Period of During Resting Period on Heart Rate in Futsal Athletes

Main Article Content

Thapana Thaworn

Abstract

บทคัดย่อ


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการฟื้นตัวหลังการออกกำลังกายในช่วงเวลาพักที่มีต่ออัตราการเต้นของหัวใจของนักกีฬาฟุตซอล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักกีฬาฟุตซอล เพศชาย ซึ่งมีอายุระหว่าง 18 – 22 ปี มีคุณสมบัติดังนี้ คือเป็นนักกีฬาฟุตซอลที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยจำนวน จำนวน 432 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตซอลของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 30 คน ได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบ PWC 170 และรูปแบบการฟื้นตัวหลังการออกกำลังกาย 4 รูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผ่านการโดยผ่านการตรวจความเที่ยงตรงเฉพาะหน้า (Face Validity) จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way Anova) หากพบความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้การทดสอบความแตกต่างรายคู่ของ นิวแมน - คูลส์  ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจในระยะฟื้นตัวของนักกีฬาฟุตซอลของรูปแบบการฟื้นตัวทั้ง 4 รูปแบบในนาทีที่ 1 นาทีที่ 2 นาทีที่ 3 และนาทีที่ 4 ไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อนำค่าเฉลี่ยอัตราการเต้นของหัวใจในระยะฟื้นตัวมาเปรียบเทียบจะพบว่าวิธีการพักการฟื้นสภาพในรูปแบบ การนั่งพักแบบเหยียดลำตัวพร้อมกับการให้ความเย็นมีอัตราการเต้นของหัวใจลดลงเร็วที่สุด รองลงมาคือการนั่งพักแบบลำตัวตรงพร้อมกับให้ความเย็น การนั่งพักเหยียดลำตัว และการนั่งพักแบบลำตัวตรง ตามลำดับ


คำสำคัญ : รูปแบบการฟื้นตัว, อัตราการเต้นหัวใจ, ฟุตซอล


Abstract


            This research aimed to compare the recovery pattern during the resting period for the heart rate in futsal athletes. The population in this research was 432 male futsal athletes between 18 - 22 years who participated in the university game in 2018. The sample was 30 futsal athletes from Kasetsart university that were selected by purposive sampling methods. The research instruments were the PWC 170 test and 4 recovery patterns that were created by the researcher and approved by 5 experts for face validity. The collected data were analyzed by mean, standard deviation, and one-way ANOVA with Newman - Keuls test.


The results found that the average heart rate during the resting period among 4 recovery patterns in 1st  minute, 2nd minute, 3rd minute and 4th minute of the futsal athletes were not statistically significant. When comparing the average heart rate during the resting period among 4 recovery patterns, it is found that sitting on a chair with stretched legs and providing cool has reduced heart rate fastest during the resting period and followed by sitting on a chair with upright position and providing cool, sitting on a chair with stretched legs, and sitting on the chair with upright position respectively.


Keywords: Recovery, Heart Rate, Futsal

Article Details

Section
Research Articles