ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันของนักกีฬาว่ายน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร The Marketing Mix Influencing to The Purchasing Decision of Swimwear for The Swimmer’s Competition in Bangkok
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันของนักกีฬาว่ายน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ของการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันของนักกีฬาว่ายน้ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาว่ายน้ำสังกัดสโมสรที่ขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกสโมสรกับสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย จำนวน 300 คน โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และนำผลมาทำการวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบส่วนผสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันของนักกีฬาว่ายน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ทดสอบค่าที (t-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One - way ANOVA) โดยการทดสอบค่า "เอฟ" (F-test) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
- นักกีฬาว่ายน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุมากกว่า 18 ปี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครองมากกว่า 60,001 บาท และมีพฤติกรรมทั่วไปในการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับแข่งขัน เหตุผลส่วนใหญ่สำคัญที่เลือกซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันคือสวมใส่กระชับ
- การตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันของนักกีฬาว่ายน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันของนักกีฬาว่ายน้ำในเขตกรุงเทพมหานครในระดับมาก
- การเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันของนักกีฬาว่ายน้ำในเขตกรุงเทพมหานครจำแนกตามเพศ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ปกครอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันของนักกีฬาว่ายน้ำในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (Beta coefficient) พบว่า การตัดสินใจการตัดสินใจซื้อชุดว่ายน้ำสำหรับการแข่งขันของนักกีฬาว่ายน้ำในเขตกรุงเทพมหานครมีอิทธิพลทั้งทางบวกและทางลบ
สำคัญ : ส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจ ชุดว่ายน้ำสำหรับแข่งขัน นักกีฬาว่ายน้ำ
Abstract
The purpose of this research aims to study the marketing mix influencing the purchasing decision of swimwear for the swimmer’s competition in Bangkok. Samples were 300 swimmers by purposive and quota sampling then using questionnaires to collect data. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation independent t-test, one-way analysis of variance and multiple Regression Analysis.
Results of the research
- An overview of the swimmer’s competition in Bangkok was found that most of them are male, over 18 years old and average monthly income of more than 60,001 baht per month. The most important reason to buy a swimwear for the competition was to wear it tightly.
- The marketing mix affecting the influencing the purchasing decision of swimwear for the swimmer’s competition in Bangkok that the overall was high level and when considering each of the details were the same level.
- Comparison of marketing mix influencing to the purchasing decision of swimwear for the swimmer’s competition in Bangkok classified by sex and the average monthly income of parents were significantly different at the .05 level.
- The relationship between marketing mixes for the decision to the purchasing decision of swimwear for the swimmer’s competition in Bangkok was found that, a statistically significant difference at .05 level. The decision to purchasing decision of swimwear for the swimmer’s competition had a positive and negative influence.
Keywords: Marketing mixes, Decision, swimmer’s competition, swimmer
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
Critical thinking in journals is the right of the author. The Association of Health Education, Physical Education and Recreation of Thailand is not always required, to create diversity in ideas and creativity.
ความคิด ข้อวิพากษ์ในวารสารเป้นสิทธิของผู้เขียน สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทยไม่จำเป็นต้องเห็นชอบด้วยเสมอไป เพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดและความสร้างสรรค์